กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5823
ชื่อเรื่อง: ผู้สูงอายุ : ที่อยู่อาศัยของผู้เกษียณอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: SENIOR : SENIOR RETIREMENT HOME
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดิศราภรณ์ ศรีทอง
คำสำคัญ: ผู้สูงอายุ
ผู้เกษียณอายุ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ดิศราภรณ์ ศรีทอง. 2560. "ผู้สูงอายุ : ที่อยู่อาศัยของผู้เกษียณอายุ." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: SPU_ดิศราภรณ์ ศรีทอง_2560
บทคัดย่อ: จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น สามารถดูได้จากกการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตนั้น จะก่อให้เกิดปรากฏการณ์สำคัญที่มีผลต่อสังคมไทยอย่างมากคือ การที่ประเทศไทยกำลังจะก้าวเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ โดยจะมีผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจากจำนวนเด็กที่ลดลงครอบครัวในปัจจุบันไม่ต้องการมีลูกมากๆเช่นในอดีต ที่อยู่อาศัยนั้นมีความสำคัญกับผู้สูงอายุเป็นอย่างมากเนื่องจากในสังคมไทยผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักใช้เวลาอยู่ในบ้านตลอดทั้งวันประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในหลายๆด้านของผู้สูงอายุการปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างมากเพราะนอกจากจะช่วยป้องกันอุบัติเหตุต่างๆและทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงแล้วยังช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่นและมีสุขภาพจิตที่ดีด้วย ในการศึกษาออกแบบ มีขั้นตอนดำเนินงานหลักๆคือ ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของทฤษฎีพฤติกรรมของผู้สูงอายุ องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม และเรื่องการเตรียมพร้อมที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อนำมาวิเคราะห์และสรุปเพื่อกำหนด กิจกรรมต่างๆในโครงการ เพื่อให้ได้พื้นที่ใช้สอยภายในตัวโครงการ และนำมาออกแบบงานสถาปัตยกรรมในรูปแบบของสถาปัตยกรรม จากการศึกษาข้อมูลพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายหลายๆ ด้าน การปรับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ ได้อย่างสะดวกปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการลื่นล้มและป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ การออกแบบที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุควรให้ความสำคัญตั้งแต่โครงสร้าง การตกแต่งบ้าน การจัดวาง หรือการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ เพื่อรองรับความเสื่อมถอยของร่างกายในด้านการมองเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหวร่างกาย และความไม่สมดุลของฮอร์โมนและอารมณ์ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ เพื่อให้มีความปลอดภัย ใช้งานได้ง่าย และมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น สำหรับในรายละเอียดของการออกแบบที่พักอาศัยเพื่อผู้สูงอายุ
รายละเอียด: สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5823
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
56045091_ดิศราภรณ์_ศรีทอง.pdf5.39 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น