Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5988
Title: ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลเครดิตของประชาชนตาม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545
Other Titles: Legal Problems and Obstruction Regarding Protection of Credit Information of people under the Credit Information Business Operation Act of B.E.2002
Authors: ศุทรา ศรีหทัย
Keywords: การคุ้มครอง
ข้อมูลเครดิต
Issue Date: 7-March-2562
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลเครดิต ของประชาชนตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 จากสภาพปัญหาการที่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้รับการจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูล เครดิต พ.ศ.2545 โดยมีวัตถุประสงค์ในการเก็บและรวบรวมข้อมูลเครดิตแทนสถาบันการเงินเพื่อ ใช้ในการประกอบการให้สินเชื่อแก่ประชาชนหรือลูกค้าของธนาคาร ซึ่งธนาคารหรือสมาชิกมี หน้าที่นำส่งข้อมูลเครดิตไปยังบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด จากสภาพปัญหาข้างต้นหาก ข้อเท็จจริงปรากฏว่าธนาคารผู้เป็นสมาชิกจัดส่งข้อมูลให้บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ผิดพลาด ผิดหลง ชื่อและนามสกุลพ้องกันหรือมีการชำระหนี้ให้แก่ธนาคารผู้เป็นสมาชิกตามหนี้ที่ ค้างชำระแล้วแต่ข้อมูลก็ยังคงปรากฏอยู่ ส่งผลให้ประชาชนหรือลูกค้าของธนาคารไม่อาจจะกู้ยืม เงินกับสถาบันการเงินผู้เป็นสมาชิกได้ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายเยียวยาหรือการใช้สิทธิทางศาลใน การฟ้ องให้ลบล้างข้อมูลได้ อีกทั้งระยะเวลาที่จัดเก็บข้อมูลไม่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนและ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ผู้ประมวลผลบัญชีเครดิตไม่แจ้งข้อมูลให้เจ้าของข้อมูลทราบ โดยตรง ซึ่งกรณีเช่นนี้เป็นการไม่คุ้มครองสิทธิที่จะได้รับแจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลแก่เจ้าของ ข้อมูลตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 ถึงความถูกต้องของข้อมูล ดังนั้นจึงควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 โดยให้บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด สามารถแก้ไขหรือลบล้างข้อมูลเครดิตที่ธนาคารผู้เป็นสมาชิกของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ส่งมาโดยผิดพลาด ผิดหลง ผิดตัวบุคคลและข้อมูลที่เกิดจากการ ปลอมแปลงของเจ้าของข้อมูลเครดิตหรือการแสดงข้อมูลผิดพลาดและการจัดเก็บข้อมูลซึ่งบริษัท ประมวลผลออกจากการเป็นข้อมูลเครดิตที่มีบัญชีการชำระหนี้ผิดนัดหรือบัญชีดำ (Black list) นั้น หากเจ้าของข้อมูลชำระหนี้ครบถ้วนแล้วก็ควรลบล้างข้อมูลออกเสียไม่ควรจัดเก็บถึง 3 ปี หรือ 5 ปี แล้วแต่กรณี และควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการประกอบข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 นี้ เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติล้างมลทินในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 โดยลบล้างข้อมูล ออกไปทันทีเมื่อเจ้าของข้อมูลชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว ส่วนกรณีที่เจ้าของข้อมูลไม่มีความสามารถ ชำระหนี้ได้ครบถ้วนควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ.2545 โดย มีกำหนดระยะเวลาเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 81/1 ให้ปลด บุคคลนั้นจากล้มละลายทันทีที่พ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ศาลได้พิพากษาให้ล้มละลาย เพื่อให้เป็นไปตามสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และเพื่อประกันความเป็นธรรมให้แก่ลูกหนี้ของธนาคารที่จะสามารถบริหารจัดการหนี้ของตนเอง ได้และพัฒนาหนี้ของตนเองให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนั้นควรแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 25 โดยให้บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีหน้าที่จะต้องส่งข้อมูลของเจ้าของข้อมูลที่มีปัญหาการชำระหนี้ผิดนัด โดยแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของข้อมูลทราบโดยตรงว่าติดบัญชีดำ (Black list) ข้อมูลชำระหนี้ผิดนัด หากเจ้าของข้อมูลไม่เห็นด้วยกับข้อมูลนั้นหรือข้อมูลที่แจ้งมีข้อผิดพลาดคลาดเคลื่อน ผิดตัวบุคคล การปลอมแปลงข้อมูลหรือการรายงานชื่อ-สกุลผิดพลาดหรือการแสดงข้อมูลไว้ผิดพลาดจาก สถาบันการเงินอันเกิดจากการจัดส่งโดยสถาบันการเงินซึ่งเป็ นสมาชิกของบริษัท ข้อมูลเครดิต แห่งชาติ จำกัด ให้เจ้าของข้อมูลเครดิตสามารถอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการได้เพราะมาตรา 25 ซึ่งอยู่ ในหมวดการให้ความคุ้มครองแก่เจ้าของข้อมูล แต่ไม่มีกฎหมายกำหนดให้บริษัท ข้อมูลเครดิต แห่งชาติ จำกัด แจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบและไม่สามารถอุทธรณ์โต้แย้งต่อคณะกรรมการได้
Description: นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5988
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf106.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.