Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6022
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวุฒิพงศ์ ตระกูลวิรัตตันติen_US
dc.date.accessioned2019-03-08T03:05:45Z-
dc.date.available2019-03-08T03:05:45Z-
dc.date.issued2562-03-08-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6022-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับผู้ค้าประเวณีหลังจากที่ถูกจับกุมดำเนินคดี โดยประการแรกคือปัญหาการเพิ่มอัตราโทษผู้ค้าประเวณีตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 5 และมาตรา 6 ซึ่งตามมาตรา 5 มีระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท และมาตรา 6 มีระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นอัตราโทษที่ทำให้คดีอาญาเลิกกันได้ในชั้นสอบสวน จึงไม่มีการส่งตัวผู้ค้าประเวณีไปยังศาล เพื่อให้ศาลใช้ดุลพินิจในการส่งตัวผู้ค้าประเวณีที่กระทำความผิดไปยังสถานแรกรับหรือสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จึงเสนอแนะว่าให้แก้ไขอัตราโทษตามมาตรา 5 และมาตรา 6 ของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 โดยเพิ่มอัตราโทษตามมาตรา 5 และมาตรา 6 ให้มีอัตราโทษที่สูงกว่าอัตราโทษเปรียบเทียบปรับในชั้นสอบสวนคือระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ แต่ไม่เกินอัตราโทษของศาลแขวงคือระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เพื่อให้พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้ค้าประเวณีไปดำเนินคดีที่ศาลและให้ศาลมีดุลพินิจพิจารณาพิพากษาลงโทษหรือมีคำสั่งให้ผู้ค้าประเวณีเข้ารับการพัฒนาและคุ้มครองอาชีพ ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพต่อไป ประการที่สองคือผู้ค้าประเวณีบางรายที่ถูกจับกุมดำเนินคดีไม่ได้เข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จึงเสนอแนะว่าให้กำหนดให้ผู้ค้าประเวณี เข้ารับการพัฒนาและคุ้มครองอาชีพทุกราย เพื่อให้ผู้ค้าประเวณีทุกรายที่ผ่านการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพแล้ว มีอาชีพที่สุจริตเลี้ยงตนเองได้ ไม่กลับไปประกอบอาชีพค้าประเวณีอีก ประการที่สามคือกรณีผู้ค้าประเวณีที่อยู่ระหว่างการเข้ารับการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพหลบหนีออกมาจากสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จึงเสนอแนะว่าให้การหลบหนีออกจากสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ มีความผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 เพื่อให้ ผู้ค้าประเวณีเกิดความเกรงกลัวไม่หลบหนีออกมา เป็นการบังคับให้ผู้ค้าประเวณีได้รับการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพอย่างเต็มที่ ตามหลักสูตรที่สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพกำหนดไว้ ทำให้การคุ้มครองและพัฒนาอาชีพเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อผู้ค้าประเวณีผ่านการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพแล้ว จะไม่กลับไปประกอบอาชีพค้าประเวณีอีก ประการสุดท้ายคือในปัจจุบันไม่มีมาตรการ ที่จะมาควบคุมและบังคับใช้กับผู้ค้าประเวณีที่ผ่านการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพแล้ว ไม่ให้กลับไปกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าประเวณีอีก จึงเสนอแนะว่าให้นำวิธีการเพื่อความปลอดภัยคือ ห้ามการประกอบอาชีพบางอย่างและห้ามเข้าเขตกำหนดมาบังคับใช้กับผู้ค้าประเวณี ในกรณีที่ ผู้ค้าประเวณีที่ได้ผ่านการพัฒนาและคุ้มครองอาชีพแล้ว ได้กลับไปประกอบอาชีพค้าประเวณี วิธีการเพื่อความปลอดภัยดังกล่าวจะเป็นมาตรการที่ป้องกันไม่ให้ผู้ค้าประเวณีที่ผ่านการคุ้มครองและพัฒนาอาชีพแล้ว กลับไปประกอบอาชีพค้าประเวณีอีก เพราะถ้าไม่มีวิธีการเพื่อความปลอดภัยคือห้ามการประกอบอาชีพบางอย่างและห้ามเข้าเขตกำหนด ผู้ค้าประเวณีอาจอาศัยโอกาสที่ตน ได้กลับไปประกอบอาชีพเดิมหรืออาศัยโอกาสที่ได้กลับไปอยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสังคมเดิม ซึ่งอาจเอื้อต่อการค้าประเวณี กลับไปประกอบอาชีพค้าประเวณีอีก ทำให้การคุ้มครองและพัฒนาอาชีพไม่เกิดประสิทธิภาพในทางปฏิบัติen_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectการค้าประเวณีen_US
dc.subjectการจับกุมดำเนินคดีen_US
dc.subjectการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีen_US
dc.titleปัญหากฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 ศึกษากรณีการดำเนินการเกี่ยวกับผู้ค้าประเวณีหลังจากถูกจับกุมดำเนินคดีen_US
dc.title.alternativeLAW PROBLEM CONCERNING THE PROTECTION AND SUPPRESSION OF PROSTITUTION ACT B.E.2539, IN CASE OF THE EXECUTION CONCERNING THE PROSTITUTE AFTER BEING ARRESTEDen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf530.94 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.