Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6041
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorอาณากร ปรางทองen_US
dc.date.accessioned2019-03-08T03:52:47Z-
dc.date.available2019-03-08T03:52:47Z-
dc.date.issued2562-03-08-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6041-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractการศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาหลักแนวคิด ทฤษฎีและหลักกฎหมาย รวมทั้งปัญหาทาง กฎหมายเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน โดยรูปแบบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จากปัญหา ดังกล่าว พบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 252 กำหนดให้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ประกอบด้วย ประธานกรรมการคนหนึ่ง และกรรมการอื่นอีกหก คน ซึ่งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ.2542 กำหนดให้ โครงสร้างระบบการตรวจเงินแผ่นดินประกอบด้วย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและสำนักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังมีปัญหาในด้านอำนาจ หน้าที่ของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่ยังขาดความเด็ดขาด โดยจะเป็นเพียงผู้ชี้มูลความผิด มิได้มีอำนาจในการลงโทษผู้กระทำผิด นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านเงื่อนไขคุณสมบัติของบุคคลที่จะ ได้รับการสรรหาและรับเลือกให้เป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งกฎหมายกำหนดคุณสมบัติไว้ ค่อนข้างสูงและแคบ ซึ่งในทางทฤษฎีแล้วเป็ นสิ่งที่ดีแต่ในทางปฏิบัติทำให้มีผู้ที่มีคุณสมบัติ ครบถ้วนสมัครเข้ารับการสรรหาได้ค่อนข้างน้อย ดังนั้น เพื่อให้การตรวจเงินแผ่นดินของไทยมี ประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผู้วิจัยเห็นว่า ควรมีการพัฒนาโครงสร้างองค์กรให้ไปสู่รูปแบบศาลตรวจเงิน แผ่นดิน มีสถานะเป็นศาลอยู่ในระบบศาลปกครอง ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมดูแลการรับและ การจ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐ โดยให้ศาลตรวจเงินแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่ในรูปแบบของศาล ตรวจสอบเฉพาะ ประกอบด้วยข้าราชการตุลาการที่มีสถานะเป็นผู้พิพากษา โดยกำหนดการเข้าสู่ ตำแหน่งของผู้พิพากษาให้ชัดเจน และให้แบ่งแยกการทำงานออกเป็นแผนก แต่ละแผนกจะมีความ รับผิดชอบแตกต่างกันออกไป โดยยึดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นหลัก ให้มีกฎหมายสารบัญญัติ ที่จะลงโทษในกรณีที่มีผู้กระทำความผิดด้านวินัยทางการเงินและการคลัง ด้านอำนาจหน้าที่ควรมี การระบุให้ชัดเจนในเรื่องของอำนาจหน้าที่ขององค์กรศาลตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นตุลาการเต็ม รูปแบบ และในการพัฒนาสู่รูปแบบศาลตรวจเงินแผ่นดินนั้น ควรมีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจ หน้าที่เพิ่มเติมโดยควรระบุเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่กรณี เมื่อศาลตรวจเงินแผ่นดินมีคำพิพากษาให้ เจ้าหน้าที่ผู้ใดรับผิดทางวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่ศาลตรวจ เงินแผ่นดิน มีมติโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงอีก และเมื่อศาลตรวจเงิน แผ่นดินมีคำพิพากษาให้เจ้าหน้าที่ผู้ใดต้องรับผิดทางละเมิด ให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเรียกให้ผู้นั้น ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ศาลตรวจเงินแผ่นดินมีคำพิพากษาโดยไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ สอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดขึ้นอีก ในส่วนของการดำเนินการทางอาญาแก่เจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ศาลตรวจเงินแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่าเจ้าหน้าที่มีพฤติการณ์น่าเชื่อว่าเป็นการทุจริต หรือมีการใช้อำนาจหน้าที่โดย มิชอบก่อให้เกิดความเสียหายแก่เงินหรือทรัพย์สินของทางราชการ ให้ศาลตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจส่งเรื่องไปยังอัยการสูงสุดเพื่อดำเนินคดีแก่เจ้าหน้าที่ผู้นั้น และ กรณีดำเนินการด้านวินัยทางงบประมาณและการคลัง เมื่อศาลตรวจเงินแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่า เจ้าหน้าที่กระทำผิดด้านวินัยทางงบประมาณและการคลัง และพิพากษาหรือมีคำสั่งให้ได้รับโทษ ปรับทางปกครอง คดีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลตรวจเงินแผ่นดินนั้นให้ยื่นอุทธรณ์ต่อ ศาลปกครองสูงสุด ส่วนช่วงเริ่มแรกที่ยังไม่ได้มีการพัฒนารูปแบบของการตรวจเงินแผ่นดินไปสู่ ระบบศาลตรวจเงินแผ่นดินเต็มรูปแบบ โดยยังคงใช้รูปแบบของการตรวจเงินแผ่นดินด้วย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินนั้น ในส่วนของคุณสมบัติของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินควร กำหนดให้กว้างขึ้น เพื่อทำให้มีผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนมาสมัครมากขึ้นและกำหนดระยะเวลาใน การสรรหาให้เพิ่มมากขึ้นen_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectการตรวจเงินแผ่นดินen_US
dc.subjectคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินโดยรูปแบบ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS RELATING TO THE STATE AUDITS IN THE FORM OF THE AUDITOR-GENERAL COMMISSIONen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf116.96 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.