Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6044
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดิษพล การวัฒน์เจริญen_US
dc.date.accessioned2019-03-08T03:59:36Z-
dc.date.available2019-03-08T03:59:36Z-
dc.date.issued2562-03-08-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6044-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคในการกำหนดให้ทนายความหรือที่ ปรึกษากฎหมายมีอำนาจและหน้าที่เข้าไปตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมในการพิจารณาคดีเด็ก และเยาวชนในชั้นการจับกุม การสอบสวนและการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้ นฟูทั้งก่อนฟ้ องและ ภายหลังการฟ้ องคดี รวมทั้งการควบคุมการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษากฎหมาย จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการจับกุมเด็กและเยาวชนแล้วพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดี เยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 กำหนดให้มีบุคคลที่เด็กร้องขอเข้าร่วมสอบสวนด้วยโดยไม่ได้ กำหนดให้มีทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายเข้าไปตรวจสอบการจับกุมและการใช้อำนาจของ พนักงานเจ้าหน้าที่จึงก่อให้เกิดปัญหาการที่เด็กและเยาวชนไม่ได้รับความยุติธรรมอย่างเพียงพอ เพราะพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ถือว่าเป็นกฎหมายเฉพาะจึงต้องมีมาตรการที่มากกว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่มีลักษณะเป็นบทบัญญัติกฎหมายทั่วไป อีกทั้งในการจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน ทั้งก่อนฟ้ องและภายหลังการฟ้ องคดีก็ไม่ได้กำหนดให้ทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายเข้าไปร่วม จัดทำแผนด้วย จึงพบว่าการจัดทำแผนบำบัดฟื้นฟูไม่ได้ถูกกลั่นกรองอย่างละเอียดรอบคอบเพื่อให้ แผนแก้ไขบำบัดฟื้ นฟูสอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนดและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการแก้ไข และฟื้ นฟูเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริงมากกว่าที่จะทำให้แผนบรรลุตามวัตถุประสงค์ นอกจากนั้น ในส่วนของการควบคุมมรรยาทของที่ปรึกษากฎหมาย พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ไม่ได้ กำหนดความหมายของที่ปรึกษากฎหมายไว้ จึงทำให้การกระทำผิดมรรยาทไม่มีบทบัญญัติแห่ง กฎหมายควบคุมการกระทำของที่ปรึกษากฎหมายที่จะส่งผลกระทบต่อเด็กและเยาวชนโดยตรงใน การปฏิบัติงาน เพราะที่ปรึกษากฎหมายมีอำนาจและหน้าที่แตกต่างจากทนายความและมีความ ละเอียดรอบคอบที่จะต้องดูแลเด็กและเยาวชนมากกว่าคดีสามัญทั่วไป จากการศึกษาเห็นควรให้มี การแก้ไขพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 โดยเพิ่มเติมให้มีที่ปรึกษากฎหมายในการตรวจสอบการทำงานของเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนการ จับกุมเด็กและเยาวชน การจัดทำแผนแก้ไขบำบัดฟื้นฟูก่อนฟ้ องตามมาตรา 86 และภายหลังการฟ้ อง คดีตามมาตรา 90 และเพื่อให้การทำงานของที่ปรึกษากฎหมายได้รับการควบคุมให้เป็นไปตาม มรรยาทเห็นควรให้เพิ่มเติมคำจำกัดความของคำว่าทนายความให้ร่วมถึงที่ปรึกษากฎหมายด้วย เพื่อให้การทำงานของที่ปรึกษากฎหมายจะต้องอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 และ เพื่อเป็นการขจัดปัญหาการตีความของคำว่าที่ปรึกษากฎหมายกับทนายความมีลักษณะแตกต่างกันen_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectทนายความen_US
dc.subjectการคุ้มครองen_US
dc.subjectเด็กและเยาวชนen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของทนายความในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนen_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS AND IMPEDIMENTS RELATED TO AUTHORITY AND FUNCTION OF ATTORNEY-AT-LAW IN CHILD AND JUVENILE PROTECTIONen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf99.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.