Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6074
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorดิเรก พิมพาen_US
dc.date.accessioned2019-03-08T07:05:26Z-
dc.date.available2019-03-08T07:05:26Z-
dc.date.issued2562-03-08-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6074-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาถึงความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการนิติ บุคคลหมู่บ้านตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 เพราะความรับผิดของผู้จัดการนิติ บุคคลหมู่บ้านไม่มีบัญญัติไว้โดยตรง แต่เกิดจากการว่าจ้างให้มาปฏิบัติงานของคณะกรรมการนิติ บุคคลหมู่บ้านจึงก่อให้เกิดปัญหาว่าการว่าจ้างผู้จัดการและคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านเป็นเพียง การจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานเท่านั้น จึงทำให้ผู้จัดการและคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านปฏิบัติ หน้าที่ไปในทางที่เสียหายต่อสมาชิกภายในหมู่บ้านและไม่มีกฎหมายกำหนดสถานะของสมาชิกไว้ อย่างชัดเจนในการที่จะดำเนินคดีต่อผู้จัดการและคณะกรรมการในกรณีที่กระทำผิดต่อหน้าที่หรือ ดำเนินกิจการไปในทางที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสมาชิก ซึ่งมีเพียงการตีความของศาลฎีกาใน กรณีที่ผู้จัดการหรือคณะกรรมการนิติบุคคลดำเนินกิจการไปในทางที่ทำให้ผู้ถือหุ่นเสียหาย ผู้ถือหุ่น ย่อมเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (3) เท่านั้น ซึ่งไม่อาจ เทียบเคียงในการกระทำความผิดของผู้จัดการหรือคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านได้เพราะนิติ บุคคลหมู่บ้านมิได้มุ่งเน้นการค้ากำไรหรือหาผลประโยชน์เช่นเดียวกับการดำเนินกิจการในรูปแบบ ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน จากการศึกษาพบว่าการที่นิติบุคคลหมู่บ้านโดยมีคณะกรรมการหมู่บ้านจัดสรร ถ้า บริหารงานไปในทางที่เสียหายต่อสมาชิก โดยเฉพาะการจัดสรรเงิน “ค่าบริการส่วนกลาง” ที่ต้อง บริหารจัดการไปในทางที่ต้องตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ของสมาชิก เมื่อพระราชบัญญัติการ จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ไม่ได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการและคณะกรรมการนิติบุคคล หมู่บ้านไว้ การว่าจ้างงานจึงมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกับนิติบุคคล อาคารชุดที่กำหนดให้มีตำแหน่งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งมีฐานะเป็นผู้แทนนิติบุคคลอาคาร ชุดทำให้เกิดผลเสียหายต่อนิติบุคคลหมู่บ้านได้ จากการศึกษาผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ด้วยการกำหนดนิยามของคำว่า “ผู้จัดการนิติบุคคลหมู่บ้าน” ให้มีความหมายที่ชัดเจนและการ แต่งตั้งหรือการพ้นจากตำแหน่งของผู้จัดการให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านมี การกำหนดอำนาจ หน้าที่ของผู้จัดการนิติบุคคลหมู่บ้านให้ชัดเจนและผู้จัดการนิติบุคคลหมู่บ้าน จัดสรรที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือละเลยหรืองดเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ต้องรับโทษทางอาญากับทั้งให้สิทธิสมาชิกหมู่บ้านถือว่าเป็ นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมาย กฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาสามารถดำเนินคดีทางแพ่งและทาง อาญาได้en_US
dc.language.isothen_US
dc.subjectความรับผิดทางอาญาen_US
dc.subjectผู้จัดการนิติบุคคลหมู่บ้านen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางอาญาของผู้จัดการนิติบุคคลหมู่บ้านตาม พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พุทธศักราช 2543en_US
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEM RELATING TO CRIMINAL LIABILITY OF HOUSING ESTATE JURISTIC PERSON MANAGER IN ACCORDANCE WITH THE ACT ON ALLOCATION OF LAND, B. E. 2543 (2000)en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
abstract.pdf139.35 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.