Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6163
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorเอกชัย ดีศิริ ธนภัทร พรหมวัฒนภักดี และปรากฤต เหลี่ยงประดิษฐ์en_US
dc.date.accessioned2019-04-04T08:27:38Z-
dc.date.available2019-04-04T08:27:38Z-
dc.date.issued2018-12-20-
dc.identifier.citationenergyen_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6163-
dc.descriptionenergyen_US
dc.description.abstractบทความนี้เป็นการนำเสนอการพัฒนาชุดควบคุมพัดลมระบายอากาศสำหรับห้องปรับอากาศ เพื่อแก้ปัญหาการระบายอากาศเกินความจำเป็นออกจากห้องปรับอากาศที่ไม่เหมาะสมกับจำนวนคนที่อยู่ในห้อง การระบายอากาศดังกล่าวได้นำความเย็นออกจากนอกห้องไปด้วยทำให้เครื่องปรับอากาศมีภาระการทำความเย็นมากขึ้น ต้นแบบชุดควบคุมพัดลมระบายอากาศอัตโนมัติใช้หลักการตรวจวัดออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และนับจำนวนคนที่อยู่ในห้องเพื่อเป็นข้อมูลในการควบคุมการทำงานของพัดลมระบายอากาศให้เป็นไปตามมาตรฐานการระบายอากาศ และระดับความปลอดภัยของความหนาแน่นของออกซิเจน ชุดควบคุมพัดลมระบายอากาศประกอบไปด้วย ชุดตรวจวัดออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ชุดตรวจจับจำนวนคน ชุดตรวจจับความเคลื่อนไหว และชุดปรับความเร็วพัดลม การทำงานจะเริ่มเมื่อมีคนเข้ามาในห้องโดยจะมีชุดตรวจจับความเคลื่อนไหวด้วยอินฟาเรด เพื่อตรวจจับจำนวนคนที่เข้าออกห้อง และตรวจจับออกซิเจนร่วมกับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยส่งผลไปที่ไมโครคอนโทรลเลอร์เพื่อสั่งให้วงจรควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์พัดลมระบายอากาศทำงาน ซึ่งสามารถปรับอัตราการระบายอากาศได้ 4 ระดับ ที่สอดคล้องกับค่ามาตรฐาน และจำนวนคนในห้อง โดยจะมีการตรวจสอบความเคลื่อนไหวภายในห้อง เมื่อไม่มีความเคลื่อนไหวเกิดขึ้นพัดลมระบายอากาศก็จะหยุดการทำงานทันที จากการทดลองในห้องปรับอากาศที่ควบคุมที่อุณหภูมิภายใน 25 ºc ความชื้นสัมพัทธ์ 60% อุณหภูมิภายนอก 35 ºc ความชื้นสัมพัทธ์ 80% พบว่าการในแต่ละระดับการระบายอากาศสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากการระบายอากาศเย็นทิ้งได้ประมาณ 15%en_US
dc.description.sponsorshipSripatum Universityen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวทิ ยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13en_US
dc.relation.ispartofseries1en_US
dc.subjectการระบายอากาศen_US
dc.titleการพัฒนาระบบควบคุมการระบายอากาศอัตโนมัติสำหรับห้องปรับอากาศเพื่อการประหยัดพลังงานโดยใช้การตรวจจับออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์en_US
dc.title.alternativeenergyen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.