Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6176
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorธีรยุทธ มูเล็งen_US
dc.date.accessioned2019-04-20T06:49:00Z-
dc.date.available2019-04-20T06:49:00Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.citationธีรยุทธ มูเล็ง. 2561. "การตัดสินใจเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าเกษตรในจังหวัดยะลาด้วยวิธี FUZZY TOPSIS." วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6176-
dc.descriptionธีรยุทธ มูเล็ง. 2561. "การตัดสินใจเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าเกษตรในจังหวัดยะลา ด้วยวิธี FUZZY TOPSI." วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ เกณฑ์ในการตัดสินใจ และตำแหน่งที่ตั้งทางเลือกของศูนย์กระจายสินค้าเกษตรที่เป็นไปได้ในจังหวัดยะลา ซึ่งเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกที่ตั้งศูนย์ฯ ด้วยวิธี FUZZY TOPSIS เริ่มจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากผู้เชี่ยวชาญการเกษตรเชิงพาณิชย์ 3 ราย ในเรื่อง บทบาทหน้าที่ เกณฑ์การตัดสินใจ และตำแหน่งที่ตั้งทางเลือก จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์ผล และสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ราย ประเมินความสำคัญ และประเมินเกณฑ์แต่ละทางเลือก อีกครั้งหนึ่ง ข้อมูลที่ได้จะถูกนำเข้าสู่ขั้นตอนการตัดสินใจเลือกด้วยวิธี FUZZY TOPSIS ผลการวิจัย พบว่า บทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ ได้แก่ การเป็นศูนย์กลางการรวบรวม กระจาย ขนส่ง เชื่อมโยงเครือข่าย สนับสนุนการสื่อสาร เพิ่มอำนาจต่อรอง ป้องกันปัญหาล้นตลาด อำนวยความสะดวก เกิดมาตรฐานในการเคลื่อนย้าย คัดแยก จัดเก็บ และบรรจุสินค้า ที่มีคุณภาพ และเพิ่มมูลค่าได้ ในส่วนของเกณฑ์การตัดสินใจ พบว่ามี 8 เกณฑ์ ได้แก่ ขนาดพื้นที่ของศูนย์ฯ ความปลอดภัย ความพร้อมของระบบสาธารณูปโภค การคมนาคมสะดวก ความเชื่อมโยงกับการขนส่งในรูปแบบอื่น ความเป็นศูนย์กลางของจังหวัด ผลกระทบต่อชุมชน และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของที่ตั้งทางเลือก พบว่ามี 5 ทางเลือก ได้แก่ สถานที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันและทำหน้าที่คล้ายศูนย์ฯ 3 ทางเลือก และสถานที่ว่างเปล่าที่สามารถเป็นศูนย์ฯ ได้อีก 2 แหล่ง การประเมินด้วยการใช้วิธี FUZZY TOPSIS พบว่า ทางเลือกที่เป็นศูนย์กระจายสินค้า และตลาดเกษตร “Co-op Market” ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นทางเลือกที่ตั้งที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีค่า CC (Closeness Coefficiency) มากที่สุดen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_ธีรยุทธ มูเล็ง_2561en_US
dc.subjectศูนย์กระจายสินค้าen_US
dc.subjectสินค้าเกษตรen_US
dc.subjectFUZZY TOPSISen_US
dc.subjectDISTRIBUTION CENTERen_US
dc.subjectAGRICULTURAL PRODUCTen_US
dc.subjectFUZZY TOPSIS AND LOCATION SELECTION CRITERIAen_US
dc.titleการตัดสินใจเลือกที่ตั้งศูนย์กระจายสินค้าเกษตรในจังหวัดยะลาด้วยวิธี FUZZY TOPSISen_US
dc.title.alternativeLOCATION DECISION-MAKING OF AGRICULTURAL DISTRIBUTION CENTER IN YALA PROVINCE WITH FUZZY TOPSIS METHODen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:CLS-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ธีรยุทธ มูเล็ง.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.