ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ดูแลการชุมนุมสาธารณะ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2562

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ โดยพิจารณาถึงความไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องของบทบัญญัติเกี่ยวกับปัญหาในเรื่องของอำนาจศาล (Jurisdiction) ซึ่งมาตรา 21 วรรคสอง วางหลักเกณฑ์ว่า หากผู้ชุมนุมทำการชุมนุมสาธารณะที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เลิกการชุมนุมภายในระยะเวลาที่ได้แจ้งไว้ หรือฝ่าฝืนกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ ให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะร้องขอศาลแพ่ง (Civil Court) หรือศาลจังหวัด (Provincial Court) ที่มีเขตอำนาจเหนือสถานที่ที่มีการชุมนุมสาธารณะ (Public Assembly) เพื่อมีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมสาธารณะ ในระหว่างรอคำสั่งศาลให้เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ (Public Assembly Officials) มีอำนาจกระทำการที่จำเป็นตามแผนหรือแนวทางการดูแลการชุมนุมสาธารณะที่คณะรัฐมนตรี (Council of Ministers) ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอแนะของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (Office of Royal Thai Police) และมาตรา 22 วางหลักว่า เมื่อได้รับคำขอให้มีคำสั่งให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมสาธารณะตามมาตรา 21 แล้ว ให้ศาลพิจารณาคำขอนั้นเป็นการด่วน และถ้าผู้ชุมนุมไม่ปฏิบัติตามประกาศของเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ ให้ศาลมีคำสั่งออกคำบังคับให้ผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมสาธารณะภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด คำสั่งศาลในกรณีนี้ ให้อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาค โดยคำสั่งศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคให้เป็นที่สุด

คำอธิบาย

ธีรเดช ตติยวัฒนชัย. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ดูแลการชุมนุมสาธารณะ. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562.

คำหลัก

การชุมนุมสาธารณะ, การชุมนุมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย, เจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะ, ดุลพินิจของเจ้าพนักงาน, เขตอำนาจศาล

การอ้างอิง

ธีรเดช ตติยวัฒนชัย. 2562. "ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ดูแลการชุมนุมสาธารณะ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.