Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6217
Title: ศูนย์สร้างสรรค์ งานออกแบบ จังหวัด ขอนแก่น
Other Titles: KHON KAEN CREATIVE DESIGN CENTER
Authors: กฤษวรรณ ศิลาทอง
Keywords: การวิเคราะห์ระบบอาคาร
การวิเคราะห์งานระบบอาคาร
การออกแบบอาคาร
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: กฤษวรรณ ศิลาทอง. 2561. "ศูนย์สร้างสรรค์ งานออกแบบ จังหวัด ขอนแก่น." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: 53037820_กฤษวรรณ ศิลาทอง_2561
Abstract: เนื่องจากปัจจุบันกลุ่มชาวบ้าน ได้มีการนำวัสดุพื้นถิ่นมาพัฒนาต่อยอดให้เป็นสินค้า ของพื้นที่นั้นๆ แต่ตัวผลิตภัณฑ์นั่นยังไม่ได้รับการพัฒนาจนเกิดประโยชน์สูงสุด ให้มีการเชื่อมโยงภาคการศึกษา ผู้ประกอบการ และองค์กรภาครัฐส่วนท้องถิ่น เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และยังเป็นการขยายโอกาสการเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ด้านการออกแบบและผลักดันธุรกิจสร้างสรรค์ระดับชุมชนในท้องถิ่น ให้สามารถผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมและองค์ความรู้ใหม่ ๆ เสริมสร้างศักยภาพที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการส่งเสริมทักษะ วัสดุ ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อฐานความรู้ด้านความคิดสร้างสรรค์ของประเทศในส่วนภูมิภาคต่อไป วิธีการศึกษาออกแบบได้รวบรวมข้อมูลและลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลที่นำมาศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์เนื้อหาการออกแบบต่อไป โครงการ ศูนย์สร้างสรรค์ งานออกแบบ จังหวัด ขอนแก่น มีวัตถุประสงค์ที่จะออกแบบอาคารให้เป็นพื้นที่ สำหรับแลกเปลี่ยนความรู้ ต่อยอดทางความรู้ เพื่อที่จะมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ของชาวบ้านที่มีอยู่แล้วในพื้นถิ่น ให้เกิดคุณค่าของชิ้นงานมากยิ่งขึ้น โดยมีการส่งเสริมและผลักดัน ให้มีการเกิดความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคล นักคิด ชาวบ้าน และนักศึกษา เพื่อให้เกิดความพัฒนาในผลิตภัณฑ์นั้นๆ อย่างยั่งยืน ผลของการศึกษาการออกแบบโครงการ ศูนย์สร้างสรรค์ งานออกแบบ จังหวัด ขอนแก่น เป็นรูปแบบการจัดสรรพื้นที่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางความคิด ซึ่งสื่อออกมาทางสถาปัตยกรรมโดยแบ่งสัดส่วนพื้นที่ออกเป็นสามส่วนหลักๆคือ ส่วน Work Shop ซึ่งเป็นส่วนสำหรับ ใช้แลกเปลี่ยนความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้ยังมีส่วนของ นิทรรศการที่เล่าถึงความเป็นมาของโครงการ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้ถูกการพัฒนาโดยการมาใช้พื้นที่ของตัวอาคาร เป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้ และยังมีส่วนการเรียนรู้ของวัสดุเฉพาะในพื้นถิ่น เพื่อให้กลุ่มบุคคล หรือ นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้ามาศึกษาหาข้อมูลแลกเปลี่ยนความรู้กัน คือส่วนของห้องสมุด เพื่อให้ มีความรู้เรื่องการใช้วัสดุจากธรรมชาติอย่างคุ้มค่า และไม่ทำลายต่อสิ่งแวดล้อม
Description: สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6217
Appears in Collections:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53037820 กฤษวรรณ ศิลาทอง.pdf4.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.