กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6257
ชื่อเรื่อง: เวลาในการออกแบบสถาปัตยกรรม : กรณีศึกษา สถานีรถไฟกรุงเทพ “หัวลำโพง”
ชื่อเรื่องอื่นๆ: TIME IN ARCHITECTURAL DESIGN : HUALAMPHONG STATION CASE STUDY
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พิมพ์ชนก อ่องเภา
คำสำคัญ: ทฤษฎีสัมพัทธภาพ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: พิมพ์ชนก อ่องเภา. 2561. "เวลาในการออกแบบสถาปัตยกรรม : กรณีศึกษา สถานีรถไฟกรุงเทพ “หัวลำโพง”." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: 570022994_พิมพ์ชนก อ่องเภา_2561
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ทั้งทางด้านกายภาพและความหมายในเชิงนามธรรมตลอดจนแนวความคิด ที่ตอบสนองการรับรู้ของมนุษย์แล้วนำมาใช้ในการออกแบบที่ว่างทางสถาปัตยกรรม เพื่อให้เกิดความเหมาะสมระหว่างเวลากับพื้นที่มากที่สุด การศึกษาเรื่องเวลาทั้งในเชิงความหมายและในเชิงทฤษฎีด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศิลปศาสตร์ และในมุมมองของศาสตร์อื่นๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบที่ทำให้เกิดการสื่อความหมายถึงเวลา ซึ่งเป็นการสื่อความหมายในทางตรง จากแนวความคิดนี้ได้เกิดประเด็นอีกส่วนในการสื่อความหมายในสภาวะตรงข้ามเพื่อเป็นแนวคิดในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับเวลาที่ส่งผลต่อกิจกรรม และการใช้ที่ว่าง ลักษณะภาพรวมของการออกแบบที่ว่างทางสถาปัตยกรรมนั้น แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงและพื้นที่ว่าง ตลอดจนการใช้สอยพื้นที่ให้สอดคล้องกับกิจกรรมและสถานที่ โดยใช้ปัจจัยของเวลามาเป็นหลักในการออกแบบที่ว่างเพื่อให้เกิดศักยภาพสูงในการใช้งานกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6257
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
57022994_พิมพ์ชนก_อ่องเภา.pdf7.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น