การอิงอาศัยของพืชในสถาปัตยกรรม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2561

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

งานวิทยานิพนธ์นี้ มุ่งเน้นไปในการศึกษา และทำความเข้าใจต่อพืชที่สามารถอยู่ร่วมกับผนังของอาคารได้ เพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับคนที่ต้องการจะศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับพืชที่สามารถปลูก และเจริญเติบโตกับผนังของอาคารได้ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันหลาย ๆ อาคารก็เกิดการทรุดโทรม และพังทลายด้วยพืชที่เจริญเติบโตบนอาคารตามธรรมชาติ ในปัจจุบันเริ่มมีการศึกษาพืชหลากหลายพันธุ์ที่สามารถเจริญเติบโตกับผนังของอาคารได้ เพราะด้วยหลาย ๆ ปัจจัยทำให้พืชเริ่มลดลง สถาปัตยกรรมต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายองค์กรเริ่มมองเห็นถึงปัญหาที่พืชเริ่มลดลงจากการรุกรานของตัวสถาปัตยกรรม แต่เมื่อมองในมุมองบุคคลทั่วไป คนทั่วไปยังคงขาดความรู้ความเข้าใจในการนำพืชมาอยู่ร่วมกับสถาปัตกรรมเป็นอย่างมาก ทำให้ไม่เห็นความสำคัญ และได้ทำการถอน หรือกำจัดทิ้งไป การศึกษา และผลการศึกษา ด้วยเหตุนี้จึงมีแนวความคิดที่จะเผยแพร่ความรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับพันธุ์พืชต่าง ๆ ที่สามารถนำมาปลูกกับอาคารสถาปัตกยรรมได้หรือไม่ได้ ว่าพืชแต่ละประเภทจะส่งผลต่ออาคารสถาปัตยกรรมอย่างไรบ้าง การปลูกพืชแต่ละชนิดจะต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง และการดูแลรักษาเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมากที่สุด กว่าทุก ๆ ขั้นตอน ที่จะเป็นตัวบ่งชี้ความเป็นของการอยู่ระหว่างพืชกับอาคาร การนำผลจากการศึกษาไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบโครงการ แนวคิดในการออกแบบ คือ การปลูกพืชแนวใหม่ที่เรียกว่า สวนแนวตั้ง (Green Wall) โดยการนำมาใช้เป็น พืชที่ปลูกกับผนังอาคาร ด้วยตัวพืชมีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังสามารทำเป็นเกราะป้องกันให้ผนังของอาคาร ในการป้องกันทั้งมลพิษในรูปแบบต่าง ๆ และลดความร้อนตากแสงแดดเพื่อให้อาคารได้รับความร้อนน้อยลง

คำอธิบาย

วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

ภาวะอิงอาศัย, Commenselism, อิฐก่อสร้าง, คอนกรีต

การอ้างอิง

พงศ์ภัค กรุดน้อย. 2561. "การอิงอาศัยของพืชในสถาปัตยกรรม." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.