กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6568
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้ำกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชญาณิศา วงษ์พันธุ์
คำสำคัญ: Tourist’s dissatisfaction, not to revisiting, European tourists
ความไม่พึงพอใจของนักท่องเที่ยว ,การไม่กลับมาเยือนซ้้า, นักท่องเที่ยวชาวยุโรป
วันที่เผยแพร่: 1-กรกฎาคม-2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ชญาณิศา วงษ์พันธุ์. (2562, มกราคม-มิถุนายน).
หมายเลขชุด/รายงาน: -
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจต่อการมาเยือนกรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป (2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้ากรุงเทพมหานครของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ที่เดินทางมาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร จ้านวน 246 คน ใช้วิธีเลือกโดยอาศัยความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามภาษาอังกฤษ มีค่าสัมประสิทธิ์ของความเชื่อมั่นของครอนบัด (Cronbach) X เท่ากับ 0.852 และ Y เท่ากับ 0.880 ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส้าหรับสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Factor Analysis และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) ผลของการวิจัยพบว่านักท่องเที่ยวชาวยุโรปมีความไม่พึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านการบริการมากที่สุด (Beta = .254) รองลงมา คือความรู้สึกไม่พึงพอใจมีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านความปลอดภัยและอาชญากรรม (Beta = .191) ความรู้สึกไม่พึงพอใจมีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าในด้านด้านบุคคล (Beta = .166) ที่มีอิทธิพลต่อการไม่กลับมาเยือนซ้้าของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปต่อกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยส้าคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาสามารถน้าไปสู่ข้อเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้เพิ่มมาตรฐานการบริการแก่ลูกค้าเพื่อให้เกิดความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาการบริการรวมถึงการพัฒนาบุคลากรในสายงานของธุรกิจให้มีศักยภาพและคุณภาพในงานบริการอย่างมีมาตรฐาน สากลประเทศ และรักษาระดับมาตรฐานการบริการให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้ามาท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครมากยิ่งขึ้น ส่วนด้านความปลอดภัยและอาชญากรรมควรจะมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นในการดูแลรักษาความปลอดภัย ให้ความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวด้านความปลอดภัยที่จะไม่โดนโกง ถูกหลอก หรือการถูกท้าร้ายจากมิจฉาชีพ เพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่กรุงเทพมหานครและประเทศไทย
รายละเอียด: ผลงานเน้นเรื่องการทำรีเวิร์ดกลับในส่วนของความไม่พึงพอใจ ซึ่งเป็นการสอบถามนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในเรื่องของความไม่พึงพอใจในการเดินทางมาท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6568
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:CTH-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความวิจัยชญาณิศา.จันทรเกษม.pdf271.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น