Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6777
Title: การเพิ่มประสิทธิภาพในใบตรวจสอบ
Other Titles: Optimize the leaf in the check
Authors: พรดนัย เขียวไข่กา
Keywords: บริษัท โตชิบา แคเรียร์
ประสิทธิภาพ
Issue Date: 2563
Publisher: สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ. คณะวิศวกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Citation: พรดนัย เขียวไข่กา. 2560. "การเพิ่มประสิทธิภาพในใบตรวจสอบ." ผลงานนักศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_IE02-2-2560
Abstract: โครงงานนี้มีวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาจากการส่งคืนสินค้าของแผนกการประกอบคอยล์ร้อนวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการในการตรวจสอบ การประกอบคอยล์ร้อน เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและแนวทางการแก้ไขในการส่งคืนสินค้า โดยมีแนวทางการแก้ไขปัญหาดังนี้เริ่มจากการศึกษาข้อมูลปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษาโดยใช้การสังเกต สอบถาม สัมภาษณ์และจดบันทึกข้อมูลจากพนักงานบริษัท การศึกษาขั้นต้นจะทำการหาเก็บข้อมูลปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากสถิติสรุปผลในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 ของบริษัทกรณีศึกษา และได้ทำการเก็บข้อมูลจากการส่งสินค้า ของบริษัทในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2560 เพื่อหาสาเหตุของการส่งคืนสินค้าที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดและมีการเสียค่าใช้จ่ายมากที่สุด พบว่าการเกิดคราบสกปรกใน เดือน พ.ย. และเดือน ธ.ค. มีจำนวนทั้งสิ้น 281 ชิ้น คิดเป็น 28.8 เปอร์เซ็นต์ของของเสียที่พบทั้งหมด จากนั้นโดยใช้แผนภูมิ พาเรโต้ หาจำนวน และลักษณะของของเสีย และใช้แผนผังแสดงเหตุและผล วิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาพบว่า สาเหตุเกิดจากพนักงานขาดความสนใจที่จะขจัดคราบสกปรก จึงได้ศึกษากระบวนการตรวจสอบในการประกอบคอยล์ร้อนตั้งแต่ต้นจนถึงกระบวนการบรรจุ ในการหาสาเหตุการเกิดคราบสกปรกของคอยล์ร้อน ว่าแผนกใดที่มีส่วนรับผิดชอบ จากนั้นจึงใช้เทคนิควงจรคุณภาพ PDCA ทำกิจกรรมเพื่อปรับปรุงงาน ซึ่งมีทีมงานในการทำกิจกรรมปรับปรุงงานได้แก่ ผู้จัดการแผนก QAA , Engineer ของแผนก QAA, Engineer แผนก OSA ได้ทำการแก้ไข(A) ในด้านการทำความสะอาด เครื่องปรับอากาศ ( Condenser) ที่สะดวก ในขณะปฏิบัติงาน และการทำเอกสารปฏิบัติงาน การปรับปรุงกระบวนการทำความสะอาดและการปรับปรุงแก้ไขใบตรวจสอบ จากข้อมูลในการส่งคืนสินค้า ของ บริษัท โตชิบา แคเรียร์ (ประเทศไทย) จำกัด ลักษณะของการส่งคืนสินค้ามากที่สุด คือการเกิดคราบสกปรก หลังจากการแก้ไขปรับปรุง มีการส่งคืนสินค้าที่มีสาเหตุจากคราบสกปรกลดลงเหลือ 16.88 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่ลดลง 11.92 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นจำนวนเงินที่ลดลงทั้งสิ้น94,070 บาท
Description: บทความ_โครงงานสหกิจศึกษา
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6777
Appears in Collections:EGI-08. ผลงานนักศึกษา



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.