Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7265
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorวลัญช์ศักดิ์ สุภารัตนโชติth_TH
dc.date.accessioned2021-02-04T04:04:20Z-
dc.date.available2021-02-04T04:04:20Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7265-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการบังคับชำระหนี้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ โดยศึกษาตั้งแต่ความสำคัญของแบบนิติกรรมต่อการบังคับชำระหนี้ การบังคับชำระหนี้เกี่ยวกับเงินที่มีอยู่ในบัญชีของกองทุน การคิดดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินของสมาชิก อายุความของการบังคับชำระหนี้ และการบังคับคดี ทั้งนี้เพราะแนวทางในการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองเพื่อใช้เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชน สามารถใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ท้องถิ่นมีความเข้มแข็งพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ จากการศึกษาพบว่ามาตรการทางกฎหมายในการบังคับชำระหนี้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ จะมีประสิทธิภาพในการรักษาเงินของกองทุนไว้ตลอดไป นิติกรรมของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่ใช้อยู่มิได้กำหนดแบบของนิติกรรมไว้โดยเฉพาะ แต่ละกองทุนต้องนำหลักกฎหมายทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับซึ่งไม่เหมาะสมต่อการบังคับชำระหนี้โดยตาม มาตรา 653 บัญญัติว่า การกู้ยืมเงิน ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืม จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ แต่ในกรณีกองทุนควรใช้การทำสัญญาที่เป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ทั้งผู้ให้กู้และผู้กู้ และควรให้คู่สมรสได้ให้ความยินยอมลงชื่อไว้ในสัญญาด้วยเพราะเป็นผลดีในการบังคับชำระหนี้ และไม่ควรจะอนุญาตให้สมาชิกมาทำสัญญากู้แทนกันได้ป้องกันปัญหาเรื่องปลอมลายมือชื่อ สำหรับในเรื่องการทำสัญญากู้ยืมเงินซึ่งต้องทำตามแบบสัญญากำหนด การทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ พบว่า ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ หรือระเบียบ (กทบ.) ข้อ 33 ใช้คำว่า "อาจ" ย่อมแสดงได้ว่า เป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการกองทุนที่จะใช้หลักประกัน หรือไม่ใช้ หรือจะใช้หลักประกันเฉพาะเงินกู้ยืมบางส่วนก็ได้ ย่อมเป็นการเสี่ยงต่อการบังคับชำระหนี้โดยไม่มีหลักประกัน ส่วนการบังคับชำระหนี้เกี่ยวกับเงินที่มีอยู่ในบัญชีของกองทุนยังมีความไม่ชัดเจนแน่นอนในเรื่องเจ้าของเงินของกองทุนส่งผลถึงเรื่องอำนาจฟ้อง และอายุความของการบังคับชำระหนี้ ประกอบกับมีการคิดอัตราดอกเบี้ยในการกู้ยืมเงินเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด และเมื่อลูกหนี้ผิดนัดมีการคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งการบังคับคดีได้นำกระบวนการตามกฎหมายทั่วไปมาใช้บังคับ ซึ่งขัดแย้งกับแนวความคิดในการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อให้ประชาชนในระดับรากหญ้าพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน เพราะการดำเนินคดีมีขั้นตอนที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายต้องว่าจ้างทนายความ ไม่อาจให้พนักงานอัยการรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ได้เพราะกองทุนมิใช่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจัดทำแบบนิติกรรมให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้แต่ละกองทุนนำมาใช้ ทั้งให้มีการแก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติว่าด้วยการจัดตั้งและบริหารกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนที่บกพร่องอยู่เพื่อให้แต่ละกองทุนบริหารจัดการแก้ไขปัญหาการไม่ชำระหนี้เงินกู้ รวมทั้งจัดระบบและบริหารจัดการเงินทุนของตนเองอันเป็นการสร้างศักยภาพในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติในอนาคตth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองth_TH
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการบังคับชำระหนี้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทคัดย่อ.pdf383.67 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.