กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7269
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorผศ.ทัชชภร มหาแถลงth_TH
dc.date.accessioned2021-02-04T13:16:16Z-
dc.date.available2021-02-04T13:16:16Z-
dc.date.issued2562-11-12-
dc.identifier.citationกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, ข้อมูลส่วนบุคคล, ข้อมูลชีวภาพ,Personal data protection law, Personal data, biometric informationth_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7269-
dc.descriptionข้อมูลชีวมาตรเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดจากการประมวลผลทางเทคนิคเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทางกายภาพ สรีรวิทยา และพฤติกรรมของคนตามธรรมชาติ เช่น ภาพใบหน้า ลายนิ้วมือ หรือม่านตา ส่วนเทคโนโลยีชีวมาตร ได้แก่ เทคโนโลยีการจดจำใบหน้า (Face Recognition Technology) เทคโนโลยีจดจำลายนิ้วมือ เทคโนโลยีจดจำม่านตา ซึ่งเทคโนโลยีชีวมาตรที่กล่าวมานี้ เป็นเทคโนโลยีในการระบุตัวตน (Identification) และการพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคล (Verification) ซึ่งเทคโนโลยีชีวมาตรนี้ ได้ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของเราหลายๆอย่าง เช่น การสแกนลายนิ้วมือ สแกนใบหน้าในการใช้โทรศัพท์มือถือ การระบุเวลาเข้า-ออกในการทำงาน การเข้า-ออกสถานที่พักอาศัยหรือหน่วยงานต่างๆ การชำระเงินหรือการใช้บัตรเครดิตทางออนไลน์ การทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ ฯลฯ ข้อมูลชีวมาตรจึงเป็นข้อมูลเฉพาะตัวบุคคลที่สามารถระบุอัตลักษณ์ตัวบุคคลได้ ดังนั้น ข้อมูลชีวมาตรเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ โดยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป หรือ GDPR (General Data Protection Regulation) มีหลักห้ามทำการบันทึกหรือประมวลผลข้อมูลดังกล่าว เว้นแต่ผู้เป็นเจ้าของข้อมูลจะให้ความยินยอมโดยชัดเจน หรือข้อมูลชีวมาตรนั้นจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน ความมั่นคงปลอดภัยของสังคม หรือกปกป้องคุ้มครองทางสังคม ข้อมูลชีวมาตรจำเป็นสำหรับการปกป้องผลประโยชน์ที่สำคัญของแต่ละบุคคล แต่บุคคลเหล่านั้นไม่สามารถให้ความยินยอมได้ หรือข้อมูลชีวมาตรนั้นมีจำเป็นสำหรับประเด็นทางกฎหมาย หรือจำเป็นต่อประโยชน์สาธารณะth_TH
dc.description.abstractพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2562 และกฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 1 ปีนับตั้งแต่ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และกฎหมายฉบับนี้จะมีผลกระทบทั้งต่อภาคประชาชน หน่วยงานรัฐและหน่วยงานเอกชน เนื่องจากปัจจุบันมีการล่วงละเมิด สิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลเป็นจำนวนมากจนสร้างความเดือดร้อนรำคาญหรือความเสียหาย ให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ประกอบกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้การเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นการล่วงละเมิดดังกล่าว ทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว แม้จะมีกฎหมายฉบับนี้ออกมาควบคุมในการรวบรวมและเก็บข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว แต่ยังมีประเด็นที่น่าคิดว่าในทางปฏิบัติหรือการบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ เช่น ประเด็นเรื่องการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งในส่วนของกฎหมายจะมีข้อมูลที่จำเป็นหรือบังคับให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเก็บได้ หรือเป็นกรณีการให้ความยินยอม (consent) ของผู้เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่จะยินยอมให้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวหรือไม่ และอีกประเด็นคือเรื่องการเก็บข้อมูลชีวมาตร (Biometrics) และการใช้เทคโนโลยีชีวมาตรของหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานเอกชนกับความเสี่ยงทีอาจมีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherหนังสือพิมพ์ไทยรัฐth_TH
dc.subjectกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, ข้อมูลส่วนบุคคล, ข้อมูลชีวภาพth_TH
dc.titleข้อมูลชีวมาตร..ภัยสิทธิส่วนบุคคลth_TH
dc.typeArticleth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-07. ตำรา/สื่อการสอน/การอบรม (อื่นๆ)



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น