ปัญหาเขตอำนาจศาลปกครองกรณีพนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องเพิกถอนคำสั่งเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความรับผิดทางละเมิด

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2564

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

รัฐวิสาหกิจ (State Enterprise) ที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ (Act) หรือพระราชกฤษฏีกา (Royal Decree) ถือเป็นหน่วยงานทางปกครอง (Administrative Agency) ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 โดยพนักงานรัฐวิสาหกิจดังกล่าวมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วย แต่เมื่อพนักงานของรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฏีกานำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองเพื่อเพิกถอนคำสั่งเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน (Compensation) ในกรณีความรับผิดทางละเมิดนั้น ศาลปกครองจะมีคำสั่งไม่รับบคำฟ้องไว้พิจารณาโดยวินิจฉัยว่าไม่มีอำนาจรับคดีไว้พิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งได้ตามนัยมาตรา 9 วรรคสอง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ. 2542 (Act on Establishment of Administrarive Couet and Administrative Court Procedure B.E. 2542 (1999)) เนื่องจากเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน (Labour Court) ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่มีความสัมพันธ์ระหว่างกันตามสัญญาจ้างแรงงาน

คำอธิบาย

คำหลัก

เขตอำนาจศาล, รัฐวิสาหกิจ, พนักงานรัฐวิสาหกิจ, พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542, พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522

การอ้างอิง

จุไรรัตน์ กิจสิริสินชัย. 2563. "ปัญหาเขตอำนาจศาลปกครองกรณีพนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องเพิกถอนคำสั่งเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความรับผิดทางละเมิด." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.