กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7588
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorณิชชาภัทร แก้วรัศมีth_TH
dc.date.accessioned2021-06-04T02:58:42Z-
dc.date.available2021-06-04T02:58:42Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7588-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการใช้ประโยชน์จากที่ดิน ที่เกี่ยวข้องกับการก่อให้เกิดมลพิษในที่ดิน ด้วยการค้นคว้าและวิจัยทางเอกสารเป็นหลัก ซึ่งผลการวิจัยพบวาสภาพปัญหาของที่ดินไม่สามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินได้นั้นคือ เป็นที่ดินที่มีมลพิษอันเกิดจากมลภาวะของเสีย วัตถุอันตราย และมูลสารอื่น ๆ รวมทั้งกาก ตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งมลพิษหรือที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือภาวะที่เป็นพิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ สิ่งที่เป็นปัญหาคือ ผู้ที่เข้าไปครอบครองในพื้นดิน อันเกิดผลจากการกระทำของผู้เข้าไปครอบครองทำประโยชน์ในบริเวณพื้นที่ดินดังกล่าวโดยไม่เหมาะสม เช่น ทำประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรม เป็นที่เก็บขยะมูลฝอย เป็นที่ซ่อมรถยนต์ เป็นต้น ทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีหรือวัตถุอื่นที่ตกค้างทำให้ดินเกิดความเสื่อมโทรมต่อการใช้ประโยชน์ในภายภาคหน้า เช่น การทำเกษตรกรรม เป็นต้น จึงมีผลกระทบต่อบุคคลที่สามที่จะเข้ามาซื้อที่ดินซึ่งไม่ทราบมาก่อนเลยว่าที่ดินนั้นเคยทำประโยชน์ในด้านใดมาแล้วบ้าง โดยเจ้าของที่ดินไม่ได้บอกกล่าว จึงเป็นผลทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลที่สามตามมา จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องมีการควบคุมและคุ้มครองความเสียหาย ในส่วนของกฎหรือระเบียบที่ลงรายละเอียดกล่าวโดยทั่วไป ในเรื่องการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติมิใช่ข้อบังคับแต่ก็แฝงให้สามารถนำไปใช้ได้โดยตรง จากสภาพเช่นนี้จะมองว่าเป็นข้อบกพร่องของแนวคิดด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็ไม่ผิดแต่มองในแง่ดีได้ การที่จะบังคับให้ประชาชนต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามคาดหวังสามารถทำได้ กรณีที่ทำได้คือ การกำหนดเป้าหมายและแผนงานเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ต้องเป็นการกำหนดนโยบายเพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานของหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หากมิได้มีการกำหนดที่ชัดเจน การดำเนินงานของหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องมักเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง ดังนั้นทรัพยากรดินและการใช้ที่ดินมีความสำคัญในเรื่องการจัดระบบการใช้ที่ดิน การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับพื้นที่ การฟื้นฟู บูรณะและพัฒนาทรัพยากรดินที่มีปัญหาและเสื่อมโทรม โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมทั้งการปรับแนวทางในการจัดสรรและการปฏิรูปที่ดิน ข้อเสนอแนะสำหรับการแก้ปัญหาคือ ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานในเชิงควบคุมการใช้ประโยชน์จากที่ดินด้วยวิธีการให้ความเห็นพิจารณาอนุญาตให้กระทำการเหนือที่ดินนอกเหนือจากกรณีที่ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในการพิจารณาให้ความเห็นกรณีดังกล่าวปฏิบัติให้สอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการใช้ประโยชน์ในภาพรวมและการฟื้นฟูที่ดิน โดยการให้ความเห็นว่าไม่ควรอนุญาตให้กระทำกิจการเหนือที่ดิน ถ้าหากอนุญาตไปแล้วจะทำให้มีพื้นที่การใช้ประโยชน์จากที่ดินไม่ได้สัดส่วนที่เหมาะสม ในกรณีที่ดินเสื่อมสภาพถ้ายังไม่มีการปรับปรุงในคราวต่อไปก็ไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมได้อีกต่อไป และควรอยู่ในอำนาจเจ้าพนักงานตามกฎหมายพัฒนาที่ดินโดยตรงth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.subjectที่ดินth_TH
dc.subjectมลพิษในที่ดินth_TH
dc.titleมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการใช้ประโยชน์จากที่ดิน : ศึกษาเฉพาะกรณี การก่อให้เกิดมลพิษในที่ดินth_TH
dc.typeThesisth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ณิชชาภัทร แก้วรัศมี.pdf771.37 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น