กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7669
ชื่อเรื่อง: การสร้างแบบจำลองเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการผลิต : กรณีศึกษางานผลิตสะพานรูปกล่องตัวกลาง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Simulation for increase productivity in production: Case study of the production of intermediate segment
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรพันธ์ สันติยานนท์, ชิษณุ อัมพรายน์, คมวุธ วิศวไพศาล และ ธงชัย วิชิตนพวรรณ
คำสำคัญ: รูปแบบสะพานแบบกลองสำเร็จรูป, สะพานรูปกล่องตัวกลาง, ค่าผลิตภาพ, ระยะเวลาในการผลิต, ค่าใช้จ่ายในการผลิต
วันที่เผยแพร่: 25-มิถุนายน-2021
สำนักพิมพ์: การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26
หมายเลขชุด/รายงาน: INF-13
บทคัดย่อ: โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน – นครราชสีมา ช่วง กม. 65+300.000 ถึง กม. 70+085.000 รวมระยะทาง 4.785 กิโลเมตร ใช้รูปแบบสะพานแบบกล่องสำเร็จรูป รวมทั้งสิ้น 622 ชิ้น สะพานรูปกล่องตัวกลางเป็นประเภทที่มีจำนวนชิ้นมากที่สุดเท่ากับ 382 ชิ้น มีขั้นตอนการผลิตจำแนกได้ 9 กิจกรรมย่อย ผลการสำรวจพบว่าระยะเวลาในการผลิตในสภาพปัจจุบันคือ 786 วัน มีค่าผลิตภาพเท่ากับ 0.49 ชิ้นต่อวัน โดยกิจกรรมย่อยที่ 9 คือ การเทคอนกรีต เป็นขั้นตอนที่ความล่าช้ามากที่สุด การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อหาวิธีเพิ่มค่าผลิตภาพของการผลิตสะพานรูปกล่องตัวกลางในกิจกรรมย่อยที่ 9 การเทคอนกรีต ด้วยการจำลองสถานการณ์จากโปรแกรม EZStrobe เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนรถขนส่งคอนกรีต ระยะเวลาในการผลิต และ ค่าใช้จ่ายในการผลิต ผลการจำลองสถานการณ์พบว่าเมื่อใช้รถขนส่งคอนกรีตตั้งแต่ 2 คัน ถึง 4 คัน จะมีค่าผลิตภาพเพิ่มขึ้นเป็น 0.61 0.67 และ 0.69 ชิ้นต่อวัน ตามลำดับ และสามารถลดระยะเวลาผลิตลงได้ 164 216 และ 232 วัน ตามลำดับ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7669
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
INF13-P1-P8 NCCE26 .pdf4.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น