กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/782
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเปมิกา วิวัฒนพงศ์พันธ์-
dc.date.accessioned2551-02-16T08:43:23Z-
dc.date.available2551-02-16T08:43:23Z-
dc.date.issued2551-02-16T08:43:23Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/782-
dc.description.abstractประเทศไทยเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายในระบบประมวลกฎหมาย (Civil Law System) และมีการบัญญัติกฎหมายแพ่งและพาณิชย์รวมไว้ในประมวลกฎหมายฉบับเดียวกัน ตั้งแต่เริ่มมีการปฏิรูปกฎหมายโดยมิได้แยกแยะให้ชัดเจน ทั้งในส่วนของปรัชญากฎหมาย หลักคิด และกระบวนวิธีประยุกต์ใช้กฎหมายพาณิชย์จะเป็นไปในแนวทางของกฎหมายแพ่ง จึงทำให้การใช้กฎหมายแพ่งและกฎหมายพาณิชย์ของไทยปะปนกันมาตลอดจนถึงปัจจุบัน เป็นเหตุให้ระบบกฎหมายพาณิชย์ไม่มีความเป็นเอกเทศจากกฎหมายแพ่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ชื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แสดงอยู่ในตัวแล้วว่าประเทศไทยได้รวมกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เข้าอยู่ในประมวลกฎหมายฉบับเดียวกัน เหมือนดังที่เป็นอยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งสวิสและตุรกี แต่มีบางประเทศ เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส ฯลฯ ได้แยกบัญญัติเป็นประมวลกฎหมายแพ่งฉบับหนึ่ง และประมวลกฎหมายพาณิชย์อีกฉบับหนึ่งต่างหากจากกัน ทั้งนี้ เพราะประสงค์จะให้พ่อค้าอยู่ใต้บังคับของกฎหมายพาณิชย์เป็นพิเศษจากบุคคลธรรมดา เนื่องจากพ่อค้าต้องการติดต่อค้าขายกันอย่างรวดเร็วและพ่อค้าเป็นผู้ที่รู้จักระมัดระวังประโยชน์ได้เสียของตนดีแล้ว ไม่จำต้องบังคับให้ปฏิบัติตามแบบวิธี เพื่อให้มีเวลาในการตัดสินใจในการทำสัญญาเหมือนอย่างบุคคลธรรมดา สำหรับประเทศไทย เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา จึงจำเป็นต้องแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางการค้าทั้งในและต่างประเทศ แต่เนื้อหาและกระบวนวิธีบังคับใช้กฎหมายของประเทศไทยกลับได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common Law System) อยู่ค่อนข้างมาก จึงทำให้เกิดความสับสนและขัดแย้งทางความคิด เพราะสภาพและลักษณะของนิติสัมพันธ์ระหว่างพ่อค้าพาณิชย์หรือระหว่างคู่กรณีในทางการค้าพาณิชย์นั้น มีความแตกต่างจากนิติสัมพันธ์ในทางแพ่งระหว่างปัจเจกบุคคลด้วยกันเองอย่างมาก จึงทำให้กฎเกณฑ์ที่ถือว่าถูกต้องและเป็นธรรมในระหว่างปัจเจกบุคคลทั่วไปอาจจะเป็นกฎเกณฑ์กติกาที่ขัดแย้งกับประเพณีทางการค้าหรือแนวทางปฏิบัติระหว่างพ่อค้าที่เป็นคู่กรณีอย่างรุนแรง ทั้งนี้ กฎหมายในเรื่องแบบและหลักฐานแห่งนิติกรรมสัญญาในปัจจุบันยังไม่มีความเหมาะสมในการใช้กับคดีทางพาณิชย์เพราะถือว่ามีความเคร่งครัดเกินไปและการตีความกฎหมายในเรื่องแบบและหลักฐานแห่งนิติกรรมสัญญาก็ถือเป็นการตีความไปในทางที่ขัดต่อประเพณีการค้าอย่างรุนแรง ซึ่งการจะพัฒนากฎหมายพาณิชย์ในส่วนของเรื่องแบบและหลักฐานเป็นแห่งนิติกรรมสัญญา ควรที่จะให้มีระบบการพิสูจน์ที่แตกต่างจากกฎหมายแพ่ง เช่น ในกรณีการยอมให้มีการนำพยานบุคคลมาสืบถึงการทำสัญญาในทางพาณิชย์ด้วยวาจาหรือโดยวิธีการมีหนังสือยืนยันทางการค้า โดยการพัฒนากฎหมายพาณิชย์ในเรื่องดังกล่าวให้สอดคล้องกับความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการแยกกฎหมายพาณิชย์ออกจากกฎหมายแพ่งโดยการจัดทำกฎหมายขึ้นใหม่ในรูปแบบของกฎหมายพิเศษเพื่อเป็นข้อยกเว้นของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ การพัฒนากฎหมายจะต้องช่วยส่งเสริมกิจการค้าให้แพร่หลายและต้องสามารถคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการค้าและพาณิชย์ที่สุจริตได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของประเทศไทยให้ออกจากกันอย่างชัดเจนโดยมุ่งที่จะให้ประเทศไทยมีการจัดระบบกฎหมายพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวกับแบบและหลักฐานแห่งนิติกรรมสัญญาแยกออกจากระบบกฎหมายแพ่งอย่างชัดเจน เพื่อให้ข้อจำกัดและความไม่เป็นธรรมในการประกอบธุรกิจการค้าและพาณิชย์ของประเทศไทยลดน้อยลง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้เหมาะสมกับสภาพและลักษณะของกิจการค้าพาณิชย์ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการแยกประมวลกฎหมายแพ่งออกจากประมวลกฎหมายพาณิชย์ยังสนับสนุนกิจการค้าพาณิชย์ของประเทศไทยจะทำให้สามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้มากขึ้น อันจะส่งผลให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาของบรรดาผู้ที่อยู่ในวงการค้าพาณิชย์มากขึ้นยิ่งขึ้นอีกด้วยen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectกฎหมายแพ่งen_US
dc.subjectกฎหมายพาณิชย์en_US
dc.subjectนิติกรรมen_US
dc.subjectสัญญาen_US
dc.titleผลกระทบของนิติกรรมและสัญญาอันเนื่องมาจากการไม่แยกกฎหมายแพ่งออกจากกฎหมายพาณิชย์en_US
dc.typeThesisen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
00ปก.pdf38.95 kBAdobe PDFดู/เปิด
00_1ปก.pdf38.98 kBAdobe PDFดู/เปิด
00_2REF_IS.pdf40.81 kBAdobe PDFดู/เปิด
REF_IS.pdf40.81 kBAdobe PDFดู/เปิด
01บทคัดย่อภาษาไทย.pdf64.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
02บทคัดย่อภาษาอังกฤษ.pdf34.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
03กิตติกรรมประกาศ.pdf49.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
04สารบัญ.pdf62.29 kBAdobe PDFดู/เปิด
05Chapter1.pdf94.13 kBAdobe PDFดู/เปิด
06Chapter2.pdf368.06 kBAdobe PDFดู/เปิด
07Chapter3.pdf200.8 kBAdobe PDFดู/เปิด
08Chapter4.pdf92.8 kBAdobe PDFดู/เปิด
09Chapter5.pdf81.35 kBAdobe PDFดู/เปิด
10บรรณานุกรม1.pdf18.34 kBAdobe PDFดู/เปิด
11บรรณานุกรม2.pdf123.45 kBAdobe PDFดู/เปิด
12ภาคผนวก1.pdf18.02 kBAdobe PDFดู/เปิด
13ภาคผนวก2.pdf75.5 kBAdobe PDFดู/เปิด
14ประวัติผู้วิจัย.pdf48.59 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 3.doc1.pdf200.66 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 3.doc2.pdf200.28 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 3.doc3.pdf200.28 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทสรุปLLm.pdf204.28 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น