ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัย กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิดทางวินัย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2560

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

Sripatum University

เชิงนามธรรม

การที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในฐานะเป็นกฎหมายเฉพาะสำหรับ การดำเนินการทางวินัยข้าราชการพลเรือน และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในฐานะเป็นกฎหมายพิเศษ ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยไว้แตกต่างกัน โดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 บัญญัติให้ผู้ถูกลงโทษทางวินัยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และดุลพินิจในการกำหนดโทษทางวินัย และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมในฐานะเป็นองค์กรที่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือนมีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ได้อย่างรอบด้าน สอดคล้องกับหลักการอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ซึ่งมีฐานะเป็นกฎหมายกลางในการพิจารณาทางปกครอง ส่วนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 96 บัญญัติให้ผู้ถูกลงโทษทางวินัยตามฐานความผิดที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีมติมีสิทธิอุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจในการกำหนดโทษทางวินัยของผู้บังคับบัญชา และคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมได้ถูกจำกัดอำนาจที่มีตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนให้ทำการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจการกำหนดโทษทางวินัยของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น

คำอธิบาย

คำหลัก

การอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัย, โทษทางวินัย, คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต, มูลความผิดทางวินัย

การอ้างอิง

เศรษฐพงศ์ แหล่งสท้าน. 2560. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งลงโทษทางวินัย กรณีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชี้มูลความผิดทางวินัย." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.