Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7918
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorประณต คางดวงth_TH
dc.date.accessioned2022-01-10T06:53:35Z-
dc.date.available2022-01-10T06:53:35Z-
dc.date.issued2565-
dc.identifier.citationประณต คางดวง. 2564. "ปัญหาทางกฎหมายในการใช้ชีวิตคู่ของบุคคลซึ่งมีความหลากหลายทางเพศ ในระบบกฎหมายไทย." บทความ สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.th_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7918-
dc.description.abstractรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติและให้การรองรับในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของประชาชนให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย อย่างเท่าเทียมกัน รวมไปถึงหลักการพื้นฐานที่บุคคลย่อมมีความเสมอภาคกันในทางกฎหมาย หลักการห้ามเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุความแตกต่างเรื่องเพศจะกระทำมิได้ โดยต้องยอมรับว่าในสังคมปัจจุบันโครงสร้างทางสังคมและโลกาภิวัตน์ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก บุคคลซึ่งมีความหลากหลายทางเพศ มีรสนิยมทางเพศหรือคู่รักที่มีเพศเดียวกันจำนวนมากใช้ชีวิตร่วมกันอย่างครอบครัว ในขณะที่บทบัญญัติแห่งกฎหมายยังมิได้รับรองให้บุคคลเหล่านี้สามารถ ทำการจดทะเบียนสมรสกันได้ เป็นเหตุให้บุคคลเหล่านี้ต้องเสียสิทธิตามกฎหมายหลายประการ ซึ่งในสังคมไทยก็ยังคงมีความเชื่อ ค่านิยม ที่เน้นรูปแบบของการสร้างครอบครัวที่ให้การยอมรับ คือระหว่างชายและหญิงเท่านั้น จากการศึกษาสภาพปัญหาสิทธิในการใช้ชีวิตคู่ การสร้างครอบครัวของกลุ่มบุคคลซึ่งมีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยนั้น พบว่า การจดทะเบียนสมรสของกลุ่มบุคคลดังกล่าวฯ ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1448 ซึ่งได้บัญญัติรับรองการสมรสระหว่างเพศชายและเพศหญิงเท่านั้น จนทำให้ขาดสิทธิหน้าที่ที่พึงมีต่อกันและสิทธิพึงที่จะได้รับจากการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ทำให้ยังคงเกิดความเหลื่อมล้ำกันในการที่ จะได้รับความคุ้มครองในการสร้างครอบครัวอันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนพึงมีในฐานะประชาชนพลเมืองของประเทศ ผู้วิจัยพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อเป็นการยืนยันหลักการในการความคุ้มครองรองรับ ในเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน รวมถึงหลักความเสมอภาค ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และหลักกฎหมายระหว่างประเทศ จึงเสนอแนะว่าหากมีการแก้ไขบัญญัตินิยามศัพท์เพิ่มเติมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้มีการบัญญัติรับรองในเรื่องสิทธิ เสรีภาพ หรือความเสมอภาคให้มีความชัดเจนมากขึ้นโดยการบัญญัติคำว่า “บุคคลซึ่งมีความหลากหลายทางเพศ” ไว้โดยตรงในรัฐธรรมนูญ หรือมีการบัญญัติกฎหมายพิเศษ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พุทธศักราช.... เพื่อรองรับการใช้ชีวิตคู่ของบุคคลซึ่งมีความหลากหลายทางเพศ ซึ่งจะทำให้บุคคลทุกคนได้รับสิทธิอย่างเท่าเทียมกันทุกคนในฐานะพลเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับเดียวกัน ซึ่งมนุษย์ทุกคนควรมีสิทธิเสรีภาพในการก่อตั้งครอบครัวอย่างเสมอภาคกัน โดยต้องคำนึงอยู่เสมอว่าสิทธิเสรีภาพในการก่อตั้งครอบครัวเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกผู้ทุกนามไม่จำเป็นว่าเฉพาะแต่ชายและหญิงเท่านั้นth_TH
dc.description.sponsorshipSripatum Universityth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectหลักความเสมอภาคth_TH
dc.subjectหลักสิทธิและเสรีภาพth_TH
dc.subjectการใช้ชีวิตคู่ ของบุคคลซึ่งมีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทยth_TH
dc.titleปัญหาทางกฎหมายในการใช้ชีวิตคู่ของบุคคลซึ่งมีความหลากหลายทางเพศ ในระบบกฎหมายไทยth_TH
dc.title.alternativeLEGAL PROBLEMS OF MARRIED LIFE OF DIVERSE-SEX PEOPLE UNDER THAI LAW SYSTEMth_TH
dc.typeThesisth_TH
Appears in Collections:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ (ประณต คางดวง).pdf259.19 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.