กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8003
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านบัญชีเพื่อการจัดการที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Causal Factors for Accounting Management Affecting to Tax Planning of Entreprises in Thailand.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิณณ์ชญา รณิดา
สุพิน ฉายศิริไพบูลย์
คำสำคัญ: การจัดการภาษีอากร
การวางแผนภาษีอากร
ปัญหาภาษีอากร
วันที่เผยแพร่: เมษายน-2564
แหล่งอ้างอิง: จิณณ์ชญา รณิดา และสุพิน ฉายศิริไพบูลย์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านบัญชีเพื่อการจัดการที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการในประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) 2564. เลขหน้า 594-607.
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเหตุและผลที่จะมีผลกระทบต่อการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบในปัจจัยเหตุและผลที่จะมีผลกระทบ ต่อการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการในประเทศไทย 3) เพื่อพัฒนารูปแบบจำลองเชิงสาเหตุของการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ดำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) คือผู้ประกอบการบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2561 ถึง มกราคม 2562 โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นจำนวน 300 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการ Factor analysis เพื่อจัดกลุ่มตัวชี้วัดและจัดทำ Reliability test มีความสอดคล้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(percentage) ค่าเฉลี่ย(mean)ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน(confirmatory factor analysis)และการวิเคราะห์เส้นทาง (path analysis) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป LISREL 9.10 ผลการวิจัยพบว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพการปฏิบัติจริงขององค์ประกอบและตัวแปรสังเกตได้ของปัจจัยเชิงสาเหตุด้านบัญชีเพื่อการจัดการที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการในประเทศไทย ประกอบด้วย 1) ปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี (X1) 2)ปัจจัยด้านบทบาทของผู้บริหารด้านบัญชี (X2) 3) ปัจจัยด้านกลยุทธ์ขององค์กร (X3) 4) ปัจจัยด้านการจัดการบัญชี (X4) และวัดผลของการวางแผนภาษีอากร (Tax Planning) จากประสิทธิผลของการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการ มีความเหมาะสมและนำมาใช้เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยรูปแบบการจัดการที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีอากร ของผู้ประกอบการในประเทศไทยเพื่อพัฒนาตัวแบบโมเดลเชิงสาเหตุการจัดการที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการในประเทศไทยได้ ผู้ตอบแบบสอบถามมีจำนวนทั้งหมด 300 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชายส่วนใหญ่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า มีประสบการณ์ในการทำงาน 11-15 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 – 50,000 บาท มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยเทคโนโลยีสารสนเทศทางการบัญชี(X1) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านบทบาทของผู้บริหารด้านบัญชี (X2) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการจัดการบัญชี (X4) โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการวางแผนภาษีอากร (Y1)โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยการวางแผนภาษีอากร (Y1) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ตัวแปรสังเกตได้ ที่ใช้ในการศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุด้านบัญชีเพื่อการจัดการที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการในประเทศไทย พบว่า ตัวแปรสังเกตได้ส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ ของรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้าง เชิงสาเหตุที่พิจารณาค่าความสัมพันธ์ว่าแตกต่างจากศูนย์หรือไม่ เพื่อดูความสัมพันธ์ของการมีองค์ประกอบร่วมก่อนนำไปวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยใช้การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้ทุกตัวแปร ที่มีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิเคราะห์ความสอดคล้องของรูปแบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุปัจจัยเชิงสาเหตุด้านบัญชีเพื่อการจัดการที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการในประเทศไทย กับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
รายละเอียด: จิณณ์ชญา รณิดา และสุพิน ฉายศิริไพบูลย์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุด้านบัญชีเพื่อการจัดการที่ส่งผลต่อการวางแผนภาษีอากรของผู้ประกอบการในประเทศไทย. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน) 2564. เลขหน้า 594-607.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8003
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GRA-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
จิณณ์ชญา รณิดา และสุพิน ฉายศิริไพบูลย์ 2564.pdf10.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบ