Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8021
Title: ตัวแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุของความพึงพอใจทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจองห้องพักบนเว็บไซต์ออนไลน์ในประเทศไทย.
Other Titles: A Model of the Causal Factor of Electronic Satisfaction on Booking Online Website Rooms In Thailand
Authors: มัลลิกา ธรรมณรงค์
วิชิต อู่อ้น
Keywords: คุณภาพการให้บริการทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
การจัดการข้อร้องเรียนทางระบบ อิเล็กทรอนิกส์
คุณภาพของเว็บไซต์
ความพึงพอใจทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
ความภักดีทางระบบ อิเล็กทรอนิกส์
E-S-Qual
E-RecS-Qual
Website Quality
E-Satisfaction
E-Loyalty
Issue Date: December-2564
Citation: มัลลิกา ธรรมณรงค์ และ วิชิต อู่อ้น. (2564). ตัวแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุของความพึงพอใจทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจองห้องพักบนเว็บไซต์ออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ The Journal of Arts Management. ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2564. หน้า 733 – 748.
Abstract: บทความนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของความพึงพอใจทางระบบ อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการในการจองห้องพักบนเว็บไซต์ออนไลน์ในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษา อิทธิพลปัจจัยเชิงสาเหตุของความพึงพอใจทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ใช้บริการ การจองห้องพักบน เว็บไซต์ออนไลน์ในประเทศไทย และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุของความพึงพอใจทาง ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจองห้องพักบนเว็บไซต์ออนไลน์ในประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัย แบบผสานวิธี โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจที่พักที่เลือกการขายห้องเว็บไซต์ออนไลน์ ใน ประเทศไทย จำนวน 12 ราย และเก็บแบบสอบถามออนไลน์จากผู้ใช้บริการการจองห้องพักบนเว็บไซต์ ออนไลน์ จำนวน 500 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ทางสถิติด้วยสมการ โครงสร้าง และสถิติการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์สมการโครงสร้างและเส้นทาง พบว่า 1) คุณภาพการให้บริการทางระบบ อิเล็กทรอนิกส์ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจทางระบบอิเล็กทรอนิกส์2) การจัดการข้อ ร้องเรียนทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจทางระบบอิเล็กทรอนิกส์3) คุณภาพของเว็บไซต์ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อความพึงพอใจทางระบบอิเล็กทรอนิกส์4) ความพึงพอใจ ทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งผลทางตรงเชิงบวกต่อความภักดีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์5) คุณภาพการ ให้บริการทางระบบอิเล็กทรอนิกส์, การจัดการข้อร้องเรียนทางระบบอิเล็กทรอนิกส์, และคุณภาพของเว็บไซต์ มีอิทธิพลทางอ้อมเชิงบวกต่อความภักดีทางระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยผ่านความพึงพอใจทาง ระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยพิจารณาจากค่า พบว่า = 2  = 45.36, df= 33, 2  /df = 1.375, pvalue=0.07425, RMSEA= 0.027, RMR=0.006, SRMR=0.012, CFI=1.00, GFI=0.99, AGFI= 0.96, NFI= 1.00, NNFI=1.00 โดยดัชนีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ The purposes of this article aimed 1) to study the causal factors of the electronic system satisfaction and room reservation through online booking websites in Thailand; 2) to study the influence of the causal factors of the electronic system satisfaction and room reservation through online booking websites in Thailand; and 3) to create a model of electronic system satisfaction of booking online websites in Thailand. The researchers collected data from interviews with hoteliers, hotel owners, who choose to sell their rooms through OTAs and their users who made room reservations through an online hotel reservation agency. This research was a mixed research. using quantitative research and qualitative research. Data were collected via online questionnaires from users, which was done with a sample of 500, used for the quantitative method, and 12 for the qualitative method. The statistics used in data analysis were statistical analysis using structural equations (SEM) and statistical analysis (Pearson Correlation). The analysis of structural equations modelling and path analysis showed that 1) the quality of electronic services directly positively affected the satisfaction of electronic systems; 2) electronic complaint handling had a direct positive effected on electronic satisfaction; 3) the quality of the website directly positively affected the satisfaction of electronic systems; 4) electronic preferences directly positively influenced electronic loyalty; and 5) electronic service quality, electronic complaint handling, and website quality. There was a positive indirect influenced on electronic loyalty through electronic preferences. Considering the value = 2  = 4 5 . 3 6 , df= 3 3, 2  /df = 1 . 3 7 5, pvalue=0.07425, RMSEA= 0.027, RMR=0.006, SRMR=0.012, CFI=1.00, GFI=0.99, AGFI= 0.96, NFI= 1.00, NNFI=1.00, index was correlated with empirical data.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8021
Appears in Collections:GRA-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.

Admin Tools