กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8301
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาห้องผ่าตัดความดันลบในสถานการณ์ฉุกเฉินจากการระบาดของโควิด-19 ด้วยแนวคิดวิศวกรรมคุณค่า
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Negative Pressure Chamber Operating Room Development under Emergency Situation of Corona Virus 2019 Pandemic using Value Engineering Concept
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล
เทพฤทธิ์ ทองชุบ
ชวลิต มณีศรี
คำสำคัญ: ห้องผ่าตัด (Medical Operating Room)
โควิด-19 (Covid-19)
ห้องความดันลบ (Negative Pressure Chamber)
วิศวกรรมคุณค่า (Value Engineering)
วันที่เผยแพร่: 12-พฤษภาคม-2022
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศิลปากร, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ
แหล่งอ้างอิง: 27. ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล เทพฤทธิ์ ทองชุบ และชวลิต มณีศรี. “การพัฒนาห้องผ่าตัดความดันลบในสถานการณ์ฉุกเฉินจากการระบาดของโควิด-19ด้วยแนวคิดวิศวกรรมคุณค่า.” 2565. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2565 (IE Network 2022). หน้า 754 – 759.
บทคัดย่อ: สภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในประเทศไทย ในช่วงเริ่มต้นของปี พ.ศ. 2563 สร้างความตระหนกแก่สังคมและส่งผลกระทบต่อการงดให้บริการผ่าตัดของโรงพยาบาลต่างๆจำนวนมาก เนื่องจากห้องผ่าตัดเดิมเป็นแบบความดันบวก ซึ่งหากผู้รับการผ่าตัดมีเชื้อ Covid-19 อาจส่งผลให้เกิดการฟุ้งกระจายของเชื้อโรคสู่พื้นที่ต่างๆ ภายในอาคารโรงพยาบาลได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาแนวทางการปรับปรุงห้องผ่าตัดที่มีอยู่เดิมให้เป็นแบบความดันลบตามลักษณะของห้องแยกเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อสู่ภายนอก และในขณะเดียวกันสามารถป้องกันอากาศปนเปื้อนจากภายนอกเข้าสู่ห้องผ่าตัดได้ บทความนี้อธิบายประสบการณ์การพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมห้องผ่าตัดความดันลบ สำหรับใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินจากการระบาดของโควิด-19 เพื่อกลุ่มโรงพยาบาลขนาดกลางในภูมิภาคต่างๆของประเทศ จากการทำงานร่วมกันของทีมวิศวกรรม บุคลากรทางการแพทย์ ผู้บริการของโรงพยาบาล และหน่วยงานของกรมการแพทย์ ด้วยแนวคิดวิศวกรรมคุณค่า ทำให้สามารถเพิ่มคุณค่าของการให้บริการผ่าตัดแก่ประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ โดยคงหน้าที่ในการการรักษาภาวะอากาศสะอาดของห้องผ่าตัด ลดต้นทุน ลดเวลาการดำเนินงาน ลดการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดจนคลายความกังวลและอุปสรรคต่างๆ ให้กับทีมแพทย์และโรงพยาบาล จนเป็นผลสำเร็จในการเผยแพร่แนวทางการปรับปรุงห้องผ่าตัดความดันลบให้กับโรงพยาบาลต่างๆ สามารถนำไปจัดทำได้โดยสะดวก
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8301
ISBN: 978-974-641-807-2
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
01 IE Network2022.pdf7.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น