ปัญหากฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติในการดำเนินคดีผู้บริโภค : ศึกษากรณีบทบาทของเจ้าพนักงานคดีในการไกล่เกลี่ย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ปัญหาเรื่องคำนิยามที่คลาดเคลื่อนไปจากหลักการของพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคเป็นสาเหตุที่ทำให้จำนวนคดีผู้บริโภคมีแนวโน้มสูงขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับจำนวนผู้พิพากษาและจำนวนเจ้าพนักงานคดีนั้นไม่เหมาะสมกับปริมาณของจำนวนคดีที่เกิดขึ้น ส่งผลให้เกิดจำนวนคดีที่คั่งค้างและการเพิ่มจำนวนการฟ้องคดีเพิ่มสูงขึ้น การระงับข้อพิพาทจึงเป็นแนวทางในการลดจำนวนคดีผู้บริโภคได้ซึ่งการระงับข้อพิพาทมีหลากหลายแบบได้แก่ การเจรจาต่อรอง (Negotiation) การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (Mediation) การประนอมข้อพิพาท (Conciliation) อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) ดังนั้นสารนิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาบทบาทของเจ้าพนักงานคดีในการไกล่เกลี่ยคดีผู้บริโภคเพื่อหาแนวทางลดจำนวนคดีที่จะเข้าสู่ศาล จากการศึกษาพบว่ามีปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของเจ้าพนักงานคดีในการไกล่เกลี่ย กล่าวคือ เจ้าพนักงานคดีไม่มีอำนาจในการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง อีกทั้งไม่มีการไกล่เกลี่ยเชิงบังคับอย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาที่คดีผู้บริดภคทุกคดีจะต้องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยปัญหาในทางปฏิบัติในการไกล่เกลี่ยของเจ้าพนักงานคดี อันเกิดจากการศึกษาและการฝึกอบรมของเจ้าพนักงานคดีที่ไม่ได้รับการฝึกฝนอย่างเพียงพอ อีกทั้งปัญหาอันเกิดจากคู่ความที่มักจะส่งตัวแทนที่ไม่มีอำนาจในการไกล่เกลี่ย

คำอธิบาย

คำหลัก

ผู้บริโภค, การดำเนินคดีผู้บริโภค, พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2552, เจ้าพนักงานคดี

การอ้างอิง

สริดา งามแสงไสว. 2558. “ปัญหากฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติในการดำเนินคดีผู้บริโภค : ศึกษากรณีบทบาทของเจ้าพนักงานคดีในการไกล่เกลี่ย.” สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มาหวิทยาลัยศรีปทุม.