Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8815
Title: การศึกษาประสิทธิภาพเครื่องกังหันก๊าซจากการลดอุณหภูมิอากาศทางเข้า
Other Titles: A Study of a gas turbine efficiency due to a reduction of the inlet air temperature
Authors: เผชิญ จันทร์สา
พัลลภ ศรัณยโชติ
Keywords: ระบบแบบระเหยน้ำ
ระบบพ่นละอองน้ำ
ระบบทำความเย็นด้วยไฟฟ้า
ระบบแบบร่วม
Issue Date: 27-October-2565
Publisher: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: รัฐนนท์ นนท์ไพรวัลย์ และแคทลียา ปัทมพรหม. (2560). การศึกษาความเหมาะสมสำหรับการติดตั้ง อุปกรณ์ลดอุณหภูมิอากาศด้านขาเข้าเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันก๊าซ เพื่อเพิ่มสมรรถนะการผลิตกระแสไฟฟ้า, วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, ปีที่ 27 (4), หน้า 99-706
Abstract: บทความนี้เป็นการนำเสนอการศึกษาผลของการลดอุณหภูมิอากาศเข้าเครื่องกังหันก๊าซ ระบบผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ที่มีต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าและประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้า เนื่องจากกรณีศึกษาอุณหภูมิของอากาศเข้าเครื่องกังหันก๊าซ พบว่าอุณหภูมิของอากาศเพิ่มขึ้น 1oC ส่งผลต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าและอัตราความร้อนลดลงเท่ากับ 1% และ 0.5% ตามลำดับ และจากการศึกษาระบบลดอุณหภูมิอากาศแบบระเหยน้ำ, แบบพ่นละอองน้ำ, แบบใช้เครื่องทำความเย็นด้วยไฟฟ้า และแบบระบบผสมผสาน พบว่าทำให้กำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.5%, 8% ,20% และ 15.3% ตามลำดับ ประสิทธิภาพระบบผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1.55%, 1.5%, 1.2 % และ 3.7% ตามลำดับ ระบบการทำความเย็นด้วยไฟฟ้า ช่วยเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าได้สูงกว่าระบบอื่น สำหรับการลดอุณหภูมิอากาศด้วยระบบทำความเย็นแบบผสมผสานช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่า สำหรับการลดอุณหภูมิแบบระเหยน้ำและการพ่นละออง เหมาะสมกับสภาพอากาศร้อนและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ การพิจารณาการเลือกใช้ระบบการลดอุณหภูมิอากาศขึ้นอยู่กับความต้องการกำลังการผลิตไฟฟ้า การติดตั้งระบบลดอุณหภูมิอากาศแบบเดียวกันของเครื่องกังหันก๊าซต่างชุดกัน ทำให้การผลิตกำลังไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นไม่เท่ากัน เนื่องจากขึ้นอยู่กับสภาวะอากาศ และขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าของเครื่องกังหันก๊าซ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8815
Appears in Collections:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ReviewEffGasTurbine.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.