กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8868
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorเผชิญ จันทร์สาth_TH
dc.contributor.authorอดุลย์ พัฒนภักดีth_TH
dc.contributor.authorวิทยา พันธ์เจริญศิลป์th_TH
dc.date.accessioned2022-12-25T04:30:34Z-
dc.date.available2022-12-25T04:30:34Z-
dc.date.issued2022-10-
dc.identifier.citationอดุลย์ พัฒนภักดี และ คณะ(2560).ความเที่ยงตรงของอุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์รถยนต์ OBD II หนังสือประมวลบทความการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12, กรุงเทพฯ ประเทศไทยth_TH
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8868-
dc.description-th_TH
dc.description.abstractรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน จำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น ไม่เกิดปัญหาขัดข้องระหว่างการใช้งาน นอกจากนั้นการขาดการบำรุงรักษาที่ดียังจะส่งผลให้เกิดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่าปกติและมีการปลดปล่อยมลพิษทางไอเสียมากขึ้น บทความนี้นำเสนอการวิเคราะห์กรณีศึกษาของการขาดการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ก๊าซโซลีน โดยจำลองสถานการณ์การขาดการบำรุงรักษาเป็น 3 กรณี ได้แก่ 1. การขาดการบำรุงรักษาระบบกรองอากาศ 2. การขาดการบำรุงรักษาระบบจุดระเบิด และ 3. การขาดการบำรุงรักษาระบบกรองอากาศและการขาดการบำรุงรักษาระบบจุดระเบิดในเวลาเดียวกัน เปรียบเทียบกับกรณีที่เครื่องยนต์ได้รับการบำรุงรักษาที่ดีอย่างสม่ำเสมอ โดยแต่ละกรณีศึกษาได้มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลการทำงานของเครื่องยนต์จากกล่องควบคุมอิเล็กทรอนิกส์ (ECU) ของรถยนต์ ผ่านอุปกรณ์ต่อเชื่อมข้อมูล (OBD-II) แบบไร้สาย และการตรวจวัดค่ามลพิษไอเสียจากเครื่องวัดของสถานตรวจสภาพเอกชน (ตรอ.) จากการเปรียบเทียบกับกรณีที่เครื่องยนต์มีการทำงานที่สมบูรณ์จากการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ พบว่าการขาดการบำรุงรักษาระบบกรองอากาศมีผลต่ออัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.67 การขาดการบำรุงรักษาระบบจุดระเบิดมีผลต่ออัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.85 และ การขาดการบำรุงรักษาระบบกรองอากาศและการขาดการบำรุงรักษาระบบจุดระเบิดในเวลาเดียวกันมีผลต่ออัตราสิ้นเปลืองเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.52 สำหรับผลการวิเคราะห์มลพิษจากก๊าซไอเสียได้มีการวัดค่าปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซด์ (CO) และไฮโดรคาร์บอน (HC) เปรียบเทียบกับกรณีที่เครื่องยนต์มีการทำงานที่สมบูรณ์จากการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ พบว่าการขาดการบำรุงรักษาระบบกรองอากาศ มีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 0.21 และมีการปลดปล่อยไฮโดรคาร์บอนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 9.14 ppm การขาดการบำรุงรักษาระบบจุดระเบิดมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 0.08 และมีการปลดปล่อยไฮโดรคาร์บอนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 5.40 ppm และ การขาดการบำรุงรักษาระบบกรองอากาศและการขาดการบำรุงรักษาระบบจุดระเบิดในเวลาเดียวกันมีผลให้การปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับร้อยละ 0.31 และการปลดปล่อยไฮโดรคาร์บอนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเท่ากับ 17.75 ppm ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ว่ากรณีการขาดการบำรุงรักษาระบบกรองอากาศไม่ได้ส่งผลให้อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัย แต่การขาดการดูแลรักษาระบบจุดระเบิดจะมีผลต่ออัตราสิ้นเปลืองที่เพิ่มขึ้นมากกว่าอย่างชัดเจน และในส่วนของมลพิษจากไอเสียนั้น การขาดการบำรุงรักษาทุกกรณีจะส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนน็อกไซด์เพิ่มขึ้นน้อยมาก แต่ปริมาณการเพิ่มขึ้นของการปล่อยไฮโดรคาร์บอนในก๊าซไอเสียนั้นจะมีค่าเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดth_TH
dc.description.sponsorship-th_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมth_TH
dc.subjectการบำรุงรักษาเครื่องยนต์th_TH
dc.subjectกล่องควบคุมอิเล็กทรอนิกส์th_TH
dc.titleการวิเคราะห์เปรียบเทียบอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและมลพิษในกาซไอเสียที่เกิดจากการขาดการบำรุงรักษาเครื่องยนต์th_TH
dc.typeArticleth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
651130_บทความ_การเปรียบเทียบอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง_เผชิญ.pdf5.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น