กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9004
ชื่อเรื่อง: วิชาศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างคนเก่งและคนดีออกสู่สังคมไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: General Education to Create Talented and Good People in Thai Society
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติภูมิ มีประดิษฐ์
kittipoom Mepradict
คำสำคัญ: วิชาศึกษาทั่วไป
มนุษย์ที่สมบูรณ์
พลเมืองที่มีคุณค่าของสังคม
วันที่เผยแพร่: 17-ธันวาคม-2022
สำนักพิมพ์: มาหาวิทยาลัยศรีปทุม Sripatum University
แหล่งอ้างอิง: กิตติภูมิ มีประดิษฐ์. (2022).วิชาศึกษาทั่วไปเพื่อสร้างคนเก่งและคนดีออกสู่สังคมไทย.การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 17 กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: -
-
บทคัดย่อ: วิชาศึกษาทั่วไปคือหมวดวิชาที่เสริมสร้างความเป็นมนุษย์ให้พร้อมสำหรับโลกในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้เป็นบุคคลผู้ใฝ่รู้และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 อย่างครบถ้วน เป็นผู้ตระหนักรู้ถึงการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา เป็นผู้ที่สามารถสร้างโอกาสและคุณค่าให้ตนเองและสังคม รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมและของโลก เป็นบุคคลที่ดำรงตนเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง มีจริยธรรมและยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง รู้คุณค่าและรักษ์ชาติกำเนิด ร่วมมือรวมพลัง เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคม จากนิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่าสถาบันอุดมศึกษาต้องนำวิชาศึกษาทั่วไปร่วมสร้างผลลัพธ์ในการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเกิดความเก่งและความดีไปพร้อมๆกัน สามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อเชื่อมโยงกับชีวิตและวิถีความเปลี่ยนแปลงในโลกยุคปัจจุบันและอนาคตโดย (1) คนเก่งต้องมีความรอบรู้อย่างกว้างขวางมีโลกทัศน์กว้างไกลเข้าใจและเห็นคุณค่าของตนเอง ผู้อื่น สังคม ศิลปวัฒนธรรมและธรรมชาติ (2) คนเก่งต้องมีทักษะแสวงหาความรู้ตลอดชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (3) คนเก่งต้องมีทักษะการคิดแบบองค์รวม (4) คนเก่งต้องมีความฉลาดรู้ทางเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล (5) คนเก่งต้องใช้ภาษาในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (6)คนดีต้องมีคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินชีวิตบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งการนำหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียนมาร่วมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน (7) คนดีต้องมีความตระหนักและสำนึกในความเป็นไทย และ(8) คนดีต้องมีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ เป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของสังคมไทยและสังคมโลก ซึ่งทั้ง 8 ข้อดังกล่าวเสมือนเป็นตัวชี้วัดให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของวิชาศึกษาทั่วไปให้สนองตอบต่อความต้องการของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายและต้องจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่ทันสมัยเพื่อให้การผลิตคนเก่งและคนดีบรรลุผลตรงตามเจตนารมณ์และความต้องการของสังคมไทย สร้างบูรณาการในการบ่มเพาะให้เกิดขึ้นพร้อมกับการสร้างมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ป้อนสู่สถานประกอบการเพื่อความเจริญก้าวหน้าของสังคมสืบไป
รายละเอียด: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9004
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น