แนวทางการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้า

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2565-10-27

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

Sripatum University และ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้สอนพบนักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้าจำนวนเพิ่มมากขึ้นจากใบลาป่วยที่วินิจฉัย รับรองโดยแพทย์เฉพาะทาง นักศึกษากลุ่มนี้จะไม่สามารถรับความกดดันได้มากเท่ากับนักศึกษาปกติ แต่การเรียนการสอนทุกวิชาจำเป็นต้องมีความคาดหวังผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งความคาดหวังนี้นำไปสู่ความมุ่งมั่นในรูปแบบกติกาของผู้สอน ส่งผลให้นักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่สามารถรับแรงกดดันนั้นได้ บทความนี้จึงจะขอนำเสนอแนวทางการเรียนการสอนที่เสริมความยืดหยุ่นด้วยการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid Learning) เป็นการผสานระหว่างการเรียนในห้องเรียนปกติเข้ากับการถ่ายทอดสด (Live-Streaming) ด้วยโปรแกรม ZOOM Cloud Meetings พร้อมแหล่งข้อมูลให้นักศึกษาทบทวนผ่านระบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในรูปแบบออนไลน์ (E-Learning) ด้วยโปรแกรม Learning Management System (LMS) แนวทางการเรียนการสอนนี้ จัดทำขึ้นภายใต้แนวคิดการเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) และการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative learning) เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม สำหรับผู้สอนจะทำหน้าที่สนับสนุนด้านข้อมูลและเป็นผู้ให้คำปรึกษาอย่างนุ่มนวลที่สุด ส่วนการประเมินผลจะมุ่งให้ข้อเสนอแนะที่ไม่ใช่การวิจารณ์ แนวทางการเรียนการสอนทั้ง 3 แบบ ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้แบบผสมผสาน (Hybrid Learning) จะช่วยสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับนักศึกษาเมื่อประสบปัญหาและต้องการเวลาในการปรับตัว 2) การเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) จะช่วยทำให้การวางแผนการเรียนมีความยืดหยุ่น 3) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) จะช่วยส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาซึ่งกันและกันในเชิงบวก ช่วยดึงความสามารถ และศักยภาพของนักศึกษาแต่ละบุคคลให้เปล่งประกาย การผสมผสานรูปแบบการเรียนการสอนทั้ง 3 แบบ ช่วยทำให้นักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้าสามารถเรียนร่วมกับนักศึกษาปกติได้ โดยไม่ต้องลาพักการเรียนเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าอย่างเดียว

คำอธิบาย

การนำเสนอแนวทางการเรียนการสอนที่จะช่วยยืดหยุ่น ให้นักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้าประคับประคองตนเอง ให้สามารถเรียนไปด้วยรักษาตัวไปด้วยได้ เพราะการลาพักการศึกษาเพื่อไปรักษาตัวอย่างเดียวอาจไม่ได้เป็นการรักษาที่ยั่งยืน หากบรรยากาศที่กดดันยังคงวนเวียนอยู่รอบตัวเหมือนเดิม โรคซึมเศร้าก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

คำหลัก

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, การเรียนรู้แบบนำตนเอง, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, โรคซึมเศร้า, Hybrid Learning, Self-Directed Learning, Cooperative Learning, Depressive Disorders

การอ้างอิง

ปริยา ศุภวงศ์. (2565). แนวทางการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาที่เป็นโรคซึมเศร้า. ในการการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 (น.2504) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2565.