กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9243
ชื่อเรื่อง: การประยุกต์ใช้แบบจำลองการถดถอยเพื่อพัฒนาการถอดปริมาณงานโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยซอฟท์แวร์บิม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Application of Regression Model to Develop Quantity Take-off Processes for Reinforce Concrete Building using BIM Software
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพจิตร ผาวัน และ ภาสกร เมฆอากาศ
คำสำคัญ: แบบจาลองสารสนเทศอาคาร, การถอดปริมาณ, ระดับความละเอียด
วันที่เผยแพร่: 19-พฤษภาคม-2566
แหล่งอ้างอิง: การประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.พระนคร ครั้งที่ 7
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการประยุกต์ใช้ซอท์ฟแวร์บิมถอดปริมาณงานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก โดยใช้ซอฟต์แวร์บิมพัฒนาแบบจำลองโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก 3 มิติ ของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 7 ชั้น กา หนดระดับขั้นการพัฒนา 300 (LOD300) และระดับขั้นการพัฒนา 350 (LOD350) แบบจำลองจะแสดงจุดต่อและชิ้นส่วนของอาคาร ได้แก่ ปริมาณคอนกรีต ไม้แบบ เหล็กเสริม จากนั้นสร้างสมการถดถอย เพื่อคำนวณปริมาณงานโครงสร้าง ฐานราก เสา คาน พื้น ตามความละเอียดของแบบจำลองที่ระดับขั้นการพัฒนา LOD300 และ LOD350 และนำไปเปรียบเทียบกับใบเสนอราคาของโครงการ (BOQ) ผลการวิจัย พบว่าแบบจำลองการถดถอยเพื่อคา นวณปริมาณงานโครงสร้าง คอนกรีตแบบหล่อ เหล็กเสริม RB6 RB9 DB12 DB16 DB20 และ DB25 สำหรับ LOD300 มีค่าน้อยกว่า LOD350 แสดงให้เห็นว่าที่ระดับขั้นการพัฒนาแบบจำลองมีผลต่อการถอดปริมาณวัสดุโครงสร้างวิศวกรรม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9243
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:EGI-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทความทางวิชาการ.pdf920.76 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น