กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9818
ชื่อเรื่อง: ร่างพระราชบัญญัติขนส่งทางราง พ.ศ. .... ศึกษากรณีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Draft of the Rail Transport Act B.E. .... The Case Study of Licensee to Operate Rail Transport Business
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทัชชภร มหาแถลง,เจียมจิต สุวรรณน้อย
คำสำคัญ: ร่างพระราชบัญญัติขนส่งทางราง; ผู้ได้รับใบอนุญาต; กิจการขนส่งทางราง
Draft of the Rail Transport Act; Licensee; Rail Transport Business
วันที่เผยแพร่: มกราคม-2567
สำนักพิมพ์: วารสารวิชาการคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
แหล่งอ้างอิง: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
บทคัดย่อ: บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาร่างพระราชบัญญัติขนส่งทางราง พ.ศ. .... กรณีผู้ได้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการขนส่งทางรางของประเทศไทย พร้อมทั้งเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และประเทศสเปน และนำเสนอแนะแนวทางแก้ไขร่างพระราชบัญญัติขนส่งทางรางให้เข้ากับบริบท ของประเทศไทยในภายต่อไป จากการศึกษาพบว่า ร่างพระราชบัญญัติขนส่งทางราง พ.ศ. .... เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่จัดทำขึ้น เพื่อควบคุมและกำกับกิจการขนส่งทางรางและเพื่อสนับสนุนงานของกรมการขนส่งทางรางที่จัดตั้งขึ้นในสังกัด กระทรวงคมนาคม กรมการขนส่งทางราง เนื่องด้วยที่ผ่านมาระบบการขนส่งของประเทศไทยจะมุ่งเน้นไปที่ การขนส่งทางถนนซึ่งมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงหากเปรียบเทียบกับการขนส่งทางรางที่สามารถขนส่งแต่ละเที่ยวได้ ในปริมาณมากและมีต้นทุนที่ต่ำกว่า ดังนั้นหากได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของประเทศให้มี โครงข่ายที่สมบูรณ์ครอบคลุมให้เชื่อมต่อกับการขนส่งระบบอื่นทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน หรือแม้แต่ การเปิดโอกาสให้เอกชนได้เข้ามามีบทบาทอย่างชัดเจนในการร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมการขนส่ง ทางรางในระดับประเทศและในระดับภูมิภาคอย่างมั่นคงและยั่งยืน The purpose of this article is to study the draft of the Rail Transport Act B.E. .... in the case of those who have received a license to operate a rail transport business in Thailand. as well as comparing with foreign laws, including Japan, the European Union, and Spain. and suggest ways to amend the draft Rail Transport Act to suit the Thai context in the future. The study found that the Draft Rail Transport Act B.E..... is a provision of the law created to control and supervise rail transport and to support the work of the Department of Rail Transport established under the Ministry of Transport. Department of Rail Transport because in the past, Thailand’s transportation system focused on road transportation, which has high costs when compared to rail transportation that can transport large quantities each trip and has a lower cost. Therefore, if the country’s rail infrastructure is developed to have a complete and comprehensive network to connect with other transportation systems both in the country and in neighboring countries. or even allowing the private sector to play a clear role in jointly promoting and developing the rail transport industry at the national and regional levels in a stable and sustainable manner.
รายละเอียด: ระบบการขนส่งทางราง (Rail Transport) เป็นการขนส่งผู้โดยสารหรือสินค้าด้วยยานพาหนะที่วิ่งไป ตามราง ที่ถือเป็นระบบการขนส่งรูปแบบหนึ่งที่ช่วยในการเพิ่มความสะดวกให้กับการค้าขายในรูปแบบต่าง ๆ หรือการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ หรือการขนส่งคนในรูปแบบผู้โดยสาร ทำให้เกิดการเจริญ เติบโตทางเศรษฐกิจในหลายมิติที่มีความสะดวกในหลายด้าน การขนส่งทางรางด้วยรถไฟเป็นการขนส่งโดยอาศัย รางในการเคลื่อนที่และมีการขนส่งเฉพาะระหว่างสถานีต่าง ๆ เท่านั้น ไม่สามารถเดินทางบนผิวจราจรรูปแบบอื่นได้ ซึ่งระบบการขนส่งทางรางด้วยรถไฟถือเป็นหนึ่งในวิธีการขนส่งที่มีปัจจัยที่ดีในแง่ของราคาที่มีค่าใช้จ่ายในต้นทุน ที่น้อยกว่าการขนส่งในรูปแบบอื่นสำหรับการบรรทุกที่หนักและมีปริมาณมาก ด้านเวลาที่เที่ยงตรงเนื่องจากไม่มี ปัญหาจราจรเวลารอคอยจึงน้อยที่สุดและความน่าเชื่อถือ เนื่องจากมีความปลอดภัยสูงและมีสถิติในการเกิด อุบัติเหตุน้อยครั้ง ซึ่งในปัจจุบันระบบการขนส่งทางรางของประเทศไทยเริ่มมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างเป็นลำดับ เพื่อรองรับโครงการหลายโครงการที่เป็นนโยบายสำคัญ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อสนามบิน หรือ การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าให้มีการเดินรถที่กระจายในหลายพื้นที่เพื่อครบคลุมกับความต้องการของประชาชน ที่ผ่านมาการขนส่งทางรางจะมีเพียงการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งเดียว ที่ดูแลงานเกี่ยวกับระบบรางซึ่งประสบปัญหาภาวะขาดทุนมากมายจากการให้บริการ การจัดตั้งกรมการขนส่ง ทางรางเพื่อรองรับงานขนส่งทางรางโดยได้มีการบัญญัติร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางราง พ.ศ. .... เพื่อใช้เป็น กฎหมายในการกำกับดูและการทำงานของกรมการขนส่งทางรางจึงเป็นการพัฒนาระบบขนส่งทางรางยุคใหม่ ที่จะช่วยสร้างกลไกการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งต่อมาจากการพัฒนาระบบการขนส่งคนด้วย รถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องทำให้มีการก่อตั้งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ขึ้นเพื่อรองรับการ เดินรถไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ผ่านมาส่งผลให้เอกชนเริ่มเข้ามาบทบาทในการเป็นผู้ร่วมกิจการเดินรถกับรัฐ ทำให้เกิด ประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับการรับสัมปทานรวมถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้เดินรถไฟฟ้าในหลายประการ บทความนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการกำกับดูแลการประกอบกิจการขนส่งทางรางต่อผู้ที่ได้รับใบอนุญาต ประกอบกิจการขนส่งทางราง โดยมีวิธีการดำเนินการด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ประเด็นปัญหา ข้อดีและข้อเสียของร่างพระราชบัญญัติฯ ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้ที่ได้รับ ใบอนุญาตขนส่งทางราง รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศจากหนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ และตัวบทกฎหมาย และข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นแนวทางในการเสนอแนะให้มีการ พัฒนากฎหมายด้านการขนส่งทางรางต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9818
ISSN: 3056-9087
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:LAW-02. บทความวิชาการ/วิจัย (วารสารระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2.บทความวิชาการ--ทัชชภร.pdf90.11 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น