KNOWLEDGE BANK @ SPU

เป็นโครงการเชื่อมโยงชุมชนนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย บรรณารักษ์ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมในการนำคลังความรู้ของคณะและหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในฐานข้อมูลเดียวกัน

 

คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม

(SPU-IR : Sripatum University Institutional Repository)

แหล่งรวมข้อมูลผลงานด้านวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้แก่ บทความวิชาการ

ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตำราและสื่อการสอน ที่จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล

เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลผลงานวิชาการ และเอกสารดิจิทัลต่าง ๆ

ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้อย่างเสรี (Free Open Access) เป็นการส่งเสริมคุณภาพและความแข็งแกร่งด้านวิชาการของ

มหาวิทยาลัย ให้เผยแพร่ เกิดการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของประเทศ


ชุมชนใน SPU-IR

เลือกชุมชนเพื่อเรียกดูคอลเลคชัน

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 8 ของ 33
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Aviation and Transportation

วิทยาลัยการบินและคมนาคม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Graduate College of Managenent

วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Business Administration

คณะบริหารธุรกิจ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Logistics and Supply Chain

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Institute General Education

สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Communication Arts

คณะนิเทศศาสตร์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Tourism and Hospitality

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Accounting

คณะบัญชี

ผลงานล่าสุด

รายการ
ความสัมพันธ์ระหว่างการรายงานความยั่งยืนเเละการกำกับดูเเลกิจการกับความสามารถในการทำกำไรของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย SET 100
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) รุจิรา เอี่ยมตาล
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรายงานความยั่งยืนและการกำกับดูแลกิจการกับความสามารถในการทำกำไร โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่ม SET 100 มีผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 ถึง 2565 รวมระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งสิ้น 288 บริษัท
รายการ
ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์เเละประสิทธิภาพการบริหารหนี้สินกับการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย SET 100
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) กษิดิศ กิจธัญญะสัมพันธ์
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์และประสิทธิภาพการบริหารหนี้สินกับการประเมินมูลค่าหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย SET 100 ในระหว่างปี 2563 - 2565 จำนวน 100 บริษัท ตัวแปรอิสระ ได้แก่ อัตราส่วนหมุนเวียนลูกหนี้ อัตราส่วนหมุนเวียนสินค้าคงเหลือ อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์ถาวร อัตราส่วนหมุนเวียนสินทรัพย์รวม อัตราส่วนหนี้สินต่อสินทรัพย์รวม และอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
รายการ
จรรยาบรรณของผู้สอบบัญชี และความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพของงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) จุฬาสิณี ริ้วเจริญฤทธิ์กุล
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาจรรยาบรรณของผู้สอบบัญชีที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาความน่าเชื่อถือในการสอบบัญชีที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในประเทศไทย
รายการ
ผลกระทบของการประยุกต์ใช้บัญชีบริหารและระบบไคเซ็นที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563) อัญชนา อภิชิตสกุล
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของ (1) การประยุกต์ใช้บัญชีบริหาร (2) ระบบไคเซ็น และ (3) ระบบไคเซ็นโดยมีการประยุกต์ใช้บัญชีบริหาร ที่มีต่อผลการดำเนินงานด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และพัฒนาของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยแบบสอบถามจากเจ้าของกิจการ และผู้บริหาร
รายการ
การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถผู้ทำบัญชีภาครัฐความเข้าใจจริยธรรมผู้ทำบัญชีภาครัฐ และการประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีภาครัฐที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานการเงินภาครัฐในประเทศไทย
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2566) อทิรา โสตโยม
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถผู้ทำบัญชีภาครัฐ ความเข้าใจจริยธรรมผู้ทำบัญชีภาครัฐ การประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และคุณภาพรายงานการเงินภาครัฐ (2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถผู้ทำบัญชีภาครัฐ ความเข้าใจจริยธรรมผู้ทำบัญชีภาครัฐ และการประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีภาครัฐที่ส่งผลต่อคุณภาพรายงานการเงินภาครัฐ และ (3) นำเสนอกลยุทธ์เชิงนโยบายในการพัฒนารายงานการเงินภาครัฐให้มีคุณภาพ เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม