KNOWLEDGE BANK @ SPU

เป็นโครงการเชื่อมโยงชุมชนนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย บรรณารักษ์ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมในการนำคลังความรู้ของคณะและหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในฐานข้อมูลเดียวกัน

 

คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม

(SPU-IR : Sripatum University Institutional Repository)

แหล่งรวมข้อมูลผลงานด้านวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้แก่ บทความวิชาการ

ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตำราและสื่อการสอน ที่จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล

เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลผลงานวิชาการ และเอกสารดิจิทัลต่าง ๆ

ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้อย่างเสรี (Free Open Access) เป็นการส่งเสริมคุณภาพและความแข็งแกร่งด้านวิชาการของ

มหาวิทยาลัย ให้เผยแพร่ เกิดการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของประเทศ


ชุมชนใน SPU-IR

เลือกชุมชนเพื่อเรียกดูคอลเลคชัน

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 8 ของ 33
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Aviation and Transportation

วิทยาลัยการบินและคมนาคม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Graduate College of Managenent

วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Business Administration

คณะบริหารธุรกิจ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Logistics and Supply Chain

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Institute General Education

สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Communication Arts

คณะนิเทศศาสตร์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Tourism and Hospitality

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Accounting

คณะบัญชี

ผลงานล่าสุด

รายการ
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า: ศึกษากรณีผลคำวินิจฉัย คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าเรื่อง ร่วมกันกำหนดราคาซื้อและราคาขายทองคำแท่งและทองรูปพรรณ
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) อารยา พูญทัศน์
พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 มีเจตนารมณ์ในการมุ่งปกป้องตลาดให้มีการแข่งขัน ไม่ให้เกิดการผูกขาด และมีพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งบุคคลที่มีบทบาทสำคัญต่อการแข่งขันทางการค้า คือ ผู้ประกอบธุรกิจ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้มีการควบคุมพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจในการร่วมกันกําหนดราคาซื้อหรือราคาขายไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมที่ส่งผลต่อราคาสินค้าหรือบริการอันมีผลเป็นการผูกขาด ไว้ในมาตรา 54 และประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาการกระทําร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจํากัดการแข่งขันในตลาด พ.ศ. 2561 ข้อ 5 และข้อ 8
รายการ
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สุรีย์พร ขำศรี
สารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก เพื่อให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นเด็กโดยเฉพาะ รวมถึงศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบและหามาตรการคุ้มครองทางกฎหมายต่อเด็กเป็นการเฉพาะต่อไป จากการศึกษาพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่ส่งผลกระทบต่อเด็กในประเทศไทย อันได้แก่ พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มีข้อบกพร่องไม่สามารถใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ มิได้มีการกำหนดบทนิยาม และรูปแบบการนำเสนอโฆษณาอาหาร และเครื่องดื่มสำหรับเด็ก เมื่อเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร ประเทศแคนาดา สาธารณรัฐเกาหลี และราชอาณาจักรนอร์เวย์ โดยประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น ได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองเด็กในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าการกำหนดในบทนิยาม การจำกัดหรือห้ามโฆษณา และการห้ามทำการตลาดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อสุขภาพเด็ก
รายการ
มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์บนระบบอินเทอร์เน็ต
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สุพิชญา ลิ้มประพันธ์ศิลป์
สารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์บนระบบอินเทอร์เน็ต และควรมีหน่วยงานเอกชนประกอบด้วยในการกำกับดูแลควบคู่กับหน่วยงานรัฐรวมถึงศึกษากฎหมายต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบ จากการศึกษาพบว่ามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์บนระบบอินเทอร์เน็ตมีไม่เพียงพอ กล่าวคือในปัจจุบันการโฆษณาผ่านทางอินฟลูเอนเซอร์ หรือผู้มีอิทธิพลทางสังคมได้เข้ามามีอิทธิพลอย่างยิ่งในสังคมโดยการโน้มน้าวต่อผู้บริโภค อาจมีการใช้ข้อความโฆษณาที่เข้าข่ายเป็นเท็จ การโฆษณาเกินความจริง ย่อมถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ยังไม่เพียงพอต่อการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์ เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีมาตรการควบคุมอินฟลูเอนเซอร์อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักรได้มีการจัดทำร่างกฎหมายรูปที่ผ่านการปรับแต่งดิจิตอล (Digitally Altered Body Image Bill) เกี่ยวกับการควบคุมการปรับแต่งดิจิตอลอย่างเข้มงวด
รายการ
การคุ้มครองพยานในคดีอาญา : ศึกษากรณีการยื่นคำร้องขอใช้มาตรการในการคุ้มครองพยานซ้ำซ้อน
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สิริมา สุดจิตร์
สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องการคุ้มครองพยาน กรณีการยื่นคำร้องขอใช้มาตรการในการคุ้มครองพยานซ้ำซ้อน หรือเป็นคำร้องที่เคยมีการดำเนินการแล้ว ด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 ได้กำหนดให้มีมาตรการคุ้มครองความปลอดภัยพยานไว้ 2 มาตรการคือ มาตรการทั่วไป และมาตรการพิเศษ ซึ่งมีรูปแบบการดำเนินการคุ้มครองพยานที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น พฤติการณ์ความไม่ปลอดภัยและความรุนแรงของคดี เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่พยาน หากพยานถูกข่มขู่คุกคามจากผู้กระทำความผิดหรืออาชญากรที่ร่วมสมคบหรือร่วมมือกันเป็นขบวนการเป็นองค์กรที่มีความซับซ้อน มีเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมีเครือข่ายโยงใยที่เรียกว่า “อาชญากรรมข้ามชาติ” กรณีเช่นนี้อาจจำเป็นต้องใช้มาตรการพิเศษในการเข้าไปคุ้มครองพยานในคดี
รายการ
การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองพยาน : ศึกษาปัญหาการจับ หน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองพยานในคดีอาญา
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) กนิษฐ์ ไหมอ่อน
สารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองพยาน กรณีการจับ หน้าที่ และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ด้วยมีการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2565 เพิ่มอำนาจในการค้น การยึด และจับกุมให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการแตกต่างจากการค้น การยึด และการจับกุม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งเป็นหลักสากลที่ได้รับการยอมรับ