KNOWLEDGE BANK @ SPU

เป็นโครงการเชื่อมโยงชุมชนนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย บรรณารักษ์ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมในการนำคลังความรู้ของคณะและหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในฐานข้อมูลเดียวกัน

 

คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม

(SPU-IR : Sripatum University Institutional Repository)

แหล่งรวมข้อมูลผลงานด้านวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้แก่ บทความวิชาการ

ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตำราและสื่อการสอน ที่จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล

เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลผลงานวิชาการ และเอกสารดิจิทัลต่าง ๆ

ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้อย่างเสรี (Free Open Access) เป็นการส่งเสริมคุณภาพและความแข็งแกร่งด้านวิชาการของ

มหาวิทยาลัย ให้เผยแพร่ เกิดการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของประเทศ


ชุมชนใน SPU-IR

เลือกชุมชนเพื่อเรียกดูคอลเลคชัน

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 8 ของ 33
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Aviation and Transportation

วิทยาลัยการบินและคมนาคม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Graduate College of Managenent

วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Business Administration

คณะบริหารธุรกิจ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Logistics and Supply Chain

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Institute General Education

สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Communication Arts

คณะนิเทศศาสตร์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Tourism and Hospitality

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Accounting

คณะบัญชี

ผลงานล่าสุด

รายการ
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ณัฐวุฒิ พากเพียรทรัพย์
สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย โดยผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยของประเทศไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอังกฤษ เพื่อนำมาวิเคราะห์ พร้อมเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงกฎหมายของไทยเกี่ยวกับการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
รายการ
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน : ศึกษากรณีการแสวงหาข้อเท็จจริงเรื่องที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชน
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศรัช นิรัญทวี
สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ศึกษากรณีการแสวงหาข้อเท็จจริงเรื่องที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์เกี่ยวหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินในกรณีการแสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชนของผู้ตรวจการแผ่นดิน (2) กฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจการแสวงหาข้อเท็จจริงของผู้ตรวจการแผ่นดินของกฎหมายต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาการแสวงหาข้อเท็จจริงของผู้ตรวจการแผ่นดินในเรื่องที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชน (4) แนวทางแก้ไขปัญหาการแสวงหาข้อเท็จจริงของผู้ตรวจการแผ่นดินในเรื่องที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชน
รายการ
ปัญหาในการอุทธรณ์มาตรการบังคับทางปกครอง
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ธัญญารัตน์ ทวีธนะ
พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (Administrative Procedure Act B.E. 2539 (1996) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 มาตรา 63/5 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่บทบัญญัติในหมวดนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้กำหนดเป็นอย่างอื่น ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองอาจอุทธรณ์การใช้มาตรการบังคับทางปกครองนั้นได้ และมาตรา 63/5 วรรคสอง บัญญัติว่า การอุทธรณ์การใช้มาตรการบังคับทางปกครองให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเดียวกับการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองตามส่วนที่ 5 การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง (Appeal of Administrative Order) ในหมวด 2 คำสั่งทางปกครอง (Administrative Order) ทั้งนี้ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 มาตรา 42 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ การฟ้องคดีปกครองในเรื่องนั้นจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการดังกล่าว และได้มีการสั่งการตามกฎหมายนั้น หรือมิได้มีการสั่งการภายในเวลาอันสมควร หรือภายในเวลาที่กฎหมายนั้นกำหนด เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่ามีปัญหาทางกฎหมายในการดำเนินการทางปกครอง
รายการ
ปัญหากฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 : ศึกษากรณีการทำหน้าที่ในการสอบหาข้อเท็จจริงและสภาพบังคับของคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการประจำรัฐสภา
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) พงศธร เหมทานนท์
สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำหนัาที่ในการสอบหาข้อเท็จจริงและสภาพบังคับของคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการประจำรัฐสภา โดยมีการวิเคราะห์ผลกระทบของคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 17/2563 ซึ่งวินิจฉัยว่าอำนาจในการออกคำสั่งเรียกและสภาพบังคับของคำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการตามพระราชบัญญัติคำสั่งเรียกคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
รายการ
ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 : ศึกษากรณี บทบาทของทนายความในการดำเนินคดีปกครอง
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ธนวัตร คูณคำตา
สารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ความเป็นมาของเรื่องหลักกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิ ความเสมอภาค ระบบศาล ความเป็นมาของทนายความ บทบาทและความสำคัญของทนายความในกระบวนการพิจารณาคดีประเภทต่างๆ โดยเฉพาะในคดีปกครองและกำหนดให้มีทนายความในการดำเนินคดีปกครองของกฎหมายต่างประเทศ โดยวิเคราะห์ปัญหาบางประการที่เกิดจากการที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ไม่ได้กำหนดให้มีทนายความในการพิจารณาคดีเหมือนเช่นในกรณีของกฎหมายวิธีพิจารณาคดีปกครองของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ต่อไป