KNOWLEDGE BANK @ SPU

เป็นโครงการเชื่อมโยงชุมชนนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย บรรณารักษ์ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมในการนำคลังความรู้ของคณะและหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในฐานข้อมูลเดียวกัน

 

คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม

(SPU-IR : Sripatum University Institutional Repository)

แหล่งรวมข้อมูลผลงานด้านวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้แก่ บทความวิชาการ

ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตำราและสื่อการสอน ที่จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล

เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลผลงานวิชาการ และเอกสารดิจิทัลต่าง ๆ

ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้อย่างเสรี (Free Open Access) เป็นการส่งเสริมคุณภาพและความแข็งแกร่งด้านวิชาการของ

มหาวิทยาลัย ให้เผยแพร่ เกิดการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของประเทศ


ชุมชนใน SPU-IR

เลือกชุมชนเพื่อเรียกดูคอลเลคชัน

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 8 ของ 33
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Aviation and Transportation

วิทยาลัยการบินและคมนาคม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Graduate College of Management

วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Business Administration

คณะบริหารธุรกิจ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Logistics and Supply Chain

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Institute General Education

สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Communication Arts

คณะนิเทศศาสตร์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Tourism and Hospitality

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Accounting

คณะบัญชี

ผลงานล่าสุด

รายการ
การหักส่วนความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) ศุภกร ศรีคณากุล
สารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาประวัติความเป็นมาแนวคิดและทฤษฎีของความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และการหักส่วนความรับผิดของเจ้าหน้าที่โดยพิจารณาตามความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี และความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐและระบบการดำเนินงานส่วนรวม โดยเปรียบเทียบกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองไทยและศาลต่างประเทศในคดีละเมิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ จากการศึกษาวิจัยพบว่า กฎหมายในประเทศไทยนั้นไม่ได้กำหนดความหมายของความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี และความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐและระบบการดำเนินงานส่วนรวม และหลักเกณฑ์ในการหักส่วนความรับผิดไว้อย่างชัดเจน
รายการ
ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) ชนันนัทธ์ ขาวเผือก
สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวซึ่งซื้อรายการนำเที่ยวผ่านธุรกิจตัวแทนการเดินทาง เพื่อนำมากำหนดกฎเกณฑ์คุ้มครองนักท่องเที่ยวที่ซื้อรายการนำเที่ยวผ่านธุรกิจตัวแทนการเดินทาง ให้เกิดประโยชน์อย่างประสิทธิภาพสูงสุด และศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของนักท่องเที่ยว โดยการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการนำคดีนักท่องเที่ยวขึ้นสู่ศาล จากการศึกษาวิจัยพบว่า กฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติคุ้มครองนักท่องเที่ยวจากการซื้อรายการนำเที่ยวผ่านธุรกิจตัวแทนการเดินทางซึ่งมีหน้าที่เพียงขายและส่งมอบเงินที่ขายรายการนำเที่ยวให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
รายการ
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานฉ้อโกง: ศึกษากรณีฉ้อโกงโดยอาศัยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) เพชรพิสุทธิ์ อิ่มเดชา
สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการกำหนดความผิดทางอาญากรณีกรณีฉ้อโกงโดยอาศัยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเพื่อให้ได้ทรัพย์สินจากผู้เสียหาย ซึ่งภายใต้กฎหมายไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ว่าด้วยความผิดฐานฉ้อโกง ยังไม่สามารถนำมาใช้บังคับกับกรณีลักษณะนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งไม่ถือเป็นข้อความอันเป็นเท็จตามองค์ประกอบของความผิด ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินคดีเอาผิดกับผู้กระทำความผิดได้ แม้ว่าจะมีเจตนาแสวงหาประโยชน์โดยไม่สุจริตก็ตาม
รายการ
การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) อรจิรา ชาดิษฐ์
ในปัจจุบันนี้ บุหรี่ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เด็กและวัยรุ่น ซึ่งการสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาทและสมอง รวมถึงส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กและทารกในครรภ์ งานวิจัยชิ้นนี้จึงศึกษา เรื่อง การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน โดยมีการศึกษาแนวคิดทฤษฎีของกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า และศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทยกับกฎหมายต่างประเทศ อันได้แก่ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยวิเคราะห์มาตรการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย
รายการ
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ศึกษากรณี : การจับ การควบคุมฝากขังและการปล่อยตัวชั่วคราว
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) พัฒนพงศ์ จันทวฤทธิ์
การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล (Court Marshal) โดยเฉพาะภารกิจในงานด้านการจับกุมบุคคลตามหมายจับของศาล การควบคุมหรือฝากขังบุคคลที่ถูกจับกุมดังกล่าวและการติดตามผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในกรณีที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วหลบหนีไปย่อมกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งมีผลเป็นการจำกัดเสรีภาพทางร่างกายของบุคคลโดยเฉพาะของผู้ที่ถูกจับกุม ดังนั้น เจ้าพนักงานตำรวจศาล จึงต้องกระทำตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้อย่างเคร่งคัด มีวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องและมีความชัดเจน หากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือมีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีอำนาจในการกระทำ ย่อมต้องส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลภายใต้การรับรองและคุ้มครองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและก่อให้เกิดความเสียหายแก่งานราชการศาลยุติธรรม