KNOWLEDGE BANK @ SPU

เป็นโครงการเชื่อมโยงชุมชนนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย บรรณารักษ์ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมในการนำคลังความรู้ของคณะและหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในฐานข้อมูลเดียวกัน

 

คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม

(SPU-IR : Sripatum University Institutional Repository)

แหล่งรวมข้อมูลผลงานด้านวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้แก่ บทความวิชาการ

ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตำราและสื่อการสอน ที่จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล

เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลผลงานวิชาการ และเอกสารดิจิทัลต่าง ๆ

ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้อย่างเสรี (Free Open Access) เป็นการส่งเสริมคุณภาพและความแข็งแกร่งด้านวิชาการของ

มหาวิทยาลัย ให้เผยแพร่ เกิดการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของประเทศ


ชุมชนใน SPU-IR

เลือกชุมชนเพื่อเรียกดูคอลเลคชัน

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 8 ของ 33
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Aviation and Transportation

วิทยาลัยการบินและคมนาคม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Graduate College of Managenent

วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Business Administration

คณะบริหารธุรกิจ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Logistics and Supply Chain

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Institute General Education

สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Communication Arts

คณะนิเทศศาสตร์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Tourism and Hospitality

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Accounting

คณะบัญชี

ผลงานล่าสุด

รายการ
The Impact of the European Green Deal on Thailand's Exports to the EU
(วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 2567-06) Suthinee Mongkol and Tammanoon Wisitsak
This research investigates how the Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) will impact Thailand's exports of steel and iron to the European Union (EU). The European Green Deal (EGD) is the European Commission's policy that aims to promote a green transition, along with the plan to make Europe the first continent to be climate neutral by 2050. This includes the sought-after Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM), which levies tariffs on carbon-importing goods to the EU. This research (1) evaluate how CBAM would affect Thailand's exports of steel and iron to the EU (2) explore the perceptions and preparedness of Thai export firms regarding CBAM (3) provide policy recommendations to mitigate adverse effects and leverage potential opportunities for Thailand. The study identifies concerns regarding cost rise and competitive loss based on semi-structured interviews with ten Thai export firms. The ten companies interviewed are located in various industrial regions of Thailand, including Bangkok, Samut Prakan, and Chonburi. It has also indicated that Thai manufacturers should embrace environmentally friendly production practices to manage these impacts effectively. The study also suggests that Thai policymakers should ensure that the CBAM legislation is accompanied by viable instrumental and technical support to reduce the initial cost borne by iron and steel traders in Thailand. Exporters must embrace innovations and improve their energy systems so that their products remain relevant in the EU region. Legal specifications and adequate communication systems with exporting entities and EU institutions are essential in managing CBAM provisions to sustain access to the market. The findings from the interviews revealed that Thai firms are concerned about the increased costs and potential competitive disadvantages. The companies expressed the need for technical assistance and clear communication to mitigate these impacts.
รายการ
การศึกษาขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจส่งออกกล้วยไม้ไทย
(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 2559-06-08) บุษรินทร์ จีนเกิดทรัพย์
This research aimed to study the influence of internal and external factors affecting the competitive ability of exporting orchid business. The mixed method research design was used as a research methodology. Quantitative data were collected by using questionnaire and the qualitative data were from interview. The subjects were 190 businessmen who exported orchids. The results showed that the external factors e.g. human resource, physical resource, financial resource, marketing resource, and intellectual property resource directly had negative relation with the competitiveness of export orchid business at medium level. For internal factors, factor conditions, demand conditions, related and supporting industries, firm strategy structure and rivalry, role of government support, and role of chance also directly had negative relation with the competitiveness of export orchid business at medium level. The internal factors influenced the competitive ability of Thai orchid export business. The coefficient of multiple correlation was .936 and eighty-six percent could be predicted. Thebusiness. The coefficient of multiple correlation was .869 and eighty-six percent could be predicted. The external factors influenced the competitive ability of Thai orchid export business. The coefficient of multiple correlation was .781 and seventy-eight percent could be predicted. It can be summarized that both external and internal factors influenced the competitive ability of export orchid business. The coefficient of multiple correlation was .936 and ninety-three percent of it could be predicted. In addition, the results of this quantitative research revealed that factors affecting the competitive ability of business orchid export were from the competitive needs. Since the marketing systems had high competitiveness, the exporters adapted to the consumers that could specify the quality of products and market. In order to continue the exporting orchid business, the exporters had to understand the concept of bringing the resource base for analyzing the internal factors and the diamonds theoretical model for analyzing external factors. This research showed that both external and internal factors influenced the competitive ability of export orchid business and also helped develop the business sustainably.
รายการ
ความพึงพอใจของกลุ่มผู้โดยสารชาวไทยที่เดินทางอยู่เป็นประจำในการรับบริการมื้ออาหารบนเครื่องบินโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 2567-06) ธรรมนูญ วิศิษฏ์ศักดิ์ และสุธินี มงคล
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของกลุ่มผู้โดยสารที่มีการเดินทางอยู่เป็นประจำในประเด็นการรับบริการอาหารบนเครื่องบินโดยวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้โดยสารชาวไทยที่เป็นสมาชิกระดับสูงของสายการบิน มีการเดินทางในเส้นทางในประเทศและต่างประเทศรวมกันเกิน 50,000 ไมล์ต่อปีหรือเทียบเท่าตามเกณฑ์ของแต่ละสายการบิน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 20 ท่าน จากหลากหลายอาชีพ ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกพึงพอใจโดยสามารถอภิปรายเหตุผลสนับสนุนออกมาได้เป็น 5 หัวข้อใหญ่ได้แก่ 1. มีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม 2. เกิดความภาคภูมิใจในสายการบิน 3. มีความปลอดภัยมากกว่า 4. ไม่ได้มีความคาดหวังกับบริการอื่นนอกเหนือจากการขนส่ง 5. การลดต้นทุนของสายการบินซึ่งอาจนำไปสู่การลดราคาของบัตรโดยสารได้และร้อยละ 30 ของกลุ่มตัวอย่างรู้สึกไม่พึงพอใจโดยสามารถอภิปรายเหตุผลสนับสนุนออกมาได้เป็น 5 หัวข้อเช่นเดียวกัน ซึ่งได้แก่ 1. ขาดความสะดวกสบายในเรื่องของการใช้งาน 2. ไม่มั่นใจในเรื่องของความสะอาด 3. ไม่มั่นใจว่าจะเป็นการสร้างขยะเพิ่มหรือไม่ 4. เสียภาพลักษณ์ของสายการบิน 5. ไม่เชื่อมั่นในนโยบายการรักษาสิ่งแวดล้อมของสายการบิน ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยได้แก่สายการบินควรพิจารณาเรื่องการสื่อสารและการให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นนี้อย่างทั่วถึงแก่ผู้โดยสารเพื่อยกระดับความพึงพอใจให้มีมากขึ้น
รายการ
แรงสนับสนุนทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อความสุขของผู้สูงอายุเขตจังหวัดสมุทรปราการ
(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์, 2567-04) อรนิษฐ์ แสงทองสุข; ปิยะณัฐ เกียงประสิทธิ์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงสนับสนุนทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อความสุขของผู้สูงอายุเขตจังหวัดสมุทรปราการ ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุสัญชาติไทย ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป เป็นสมาชิกสมาคมผู้สูงอายุเขตจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 384 คน ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ และ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ระดับแรงสนับสนุนทางสังคม คือ ความรู้สึกนึกคิดหรือการรับรู้ของผู้สูงอายุต่อการได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนด้านต่าง ๆ การตอบสนองความต้องการ การได้รับกำลังใจและการส่งเสริมดูแลให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสม ประกอบด้วย 1) การสนับสนุนด้านอารมณ์ หมายถึง การได้รับความรัก ความอบอุ่น การดูแลเอาใจใส่ มีความใกล้ชิดความผูกพัน และมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน 2) การสนับสนุนด้านแรงงาน สิ่งของ เงินทอง และบริการ หมายถึง การได้รับการช่วยเหลือด้านแรงงาน สิ่งของ เครื่องใช้ เงินทอง และความสะดวกในการรับบริการต่าง ๆ ในชุมชน และ 3) การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร หมายถึง การได้รับข้อมูลข่าวสาร หรือ คำแนะนำ ต่าง ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ใน การดำเนินชีวิตประจำวันและสุขภาพจากบุคคลในสังคม อยู่ในระดับมาก ด้านความสุขของผู้สูงอายุ พบว่า ในภาพรวมความสุขของผู้สูงอายุ ตามความคิดเห็นของผู้สูงอายุ เขตจังหวัดสมุทรปราการ มีความสุขอยู่ในระดับน้อยกว่าคนทั่วไป
รายการ
ปัจจัยที่มีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
(มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์, 2567-04) อรนิษฐ์ แสงทองสุข; รัชตา กาญจนโรจน์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาสาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ชั้นปีที่ 1 รหัส 65 ทุกคน มีจำนวนทั้งสิ้น 120 คนที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา MGT ศาสตร์และศิลป์ในการสื่อสารทางธุรกิจเท่านั้น วิธีการที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ใช้สถิติการทดสอบค่าที (t - Test) แบบ Dependent และการทดสอบค่าที (t - Test) แบบ Independent ผลการวิจัย พบว่า การมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักศึกษามีผลต่อผลการเรียนรู้ของนักศึกษา สาขาการบริหารและการจัดการสมัยใหม่ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อยู่ในระดับมาก สาเหตุเป็นเพราะว่าการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักศึกษา เป็นกระบวนการสร้างความรู้ เป็นการเรียนรู้ที่อาศัยประสบการณ์เดิมของนักศึกษา ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนสามารถกำหนดหลักการที่ได้จากการปฏิบัติและสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีหรือหลักการได้อย่างถูกต้องเป็นการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่ม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับนักศึกษา และมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาด้วย