KNOWLEDGE BANK @ SPU

เป็นโครงการเชื่อมโยงชุมชนนักวิชาการ อาจารย์ นักวิจัย บรรณารักษ์ และ นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุมในการนำคลังความรู้ของคณะและหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในฐานข้อมูลเดียวกัน

 

คลังข้อมูลสถาบันมหาวิทยาลัยศรีปทุม

(SPU-IR : Sripatum University Institutional Repository)

แหล่งรวมข้อมูลผลงานด้านวิชาการของคณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้แก่ บทความวิชาการ

ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตำราและสื่อการสอน ที่จัดเก็บในรูปแบบดิจิทัล

เพื่อให้บุคลากร นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลผลงานวิชาการ และเอกสารดิจิทัลต่าง ๆ

ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้อย่างเสรี (Free Open Access) เป็นการส่งเสริมคุณภาพและความแข็งแกร่งด้านวิชาการของ

มหาวิทยาลัย ให้เผยแพร่ เกิดการพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ เพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของประเทศ


ชุมชนใน SPU-IR

เลือกชุมชนเพื่อเรียกดูคอลเลคชัน

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 8 ของ 33
กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Aviation and Transportation

วิทยาลัยการบินและคมนาคม

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Graduate College of Management

วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Business Administration

คณะบริหารธุรกิจ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Logistics and Supply Chain

วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

Institute General Education

สำนักวิชาศึกษาทั่วไป

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Communication Arts

คณะนิเทศศาสตร์

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

College of Tourism and Hospitality

วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

School of Accounting

คณะบัญชี

ผลงานล่าสุด

รายการ
ความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการประเมินผลการบริหารสถานศึกษา ในจังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้ BALANCED SCORECARD
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) มาลินี พัวพานิช
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาความเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีต่อการประเมินผลการบริหารสถานศึกษา ในจังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้ Balanced Scorecard (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีต่อการประเมินผลการบริหารสถานศึกษาในจังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้ Balanced Scorecard ตามประเภทและขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเลือกมาโดยใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ จำนวน 338 คน เป็นครู 296 คน และผู้บริหารสถานศึกษา 42 คน จากสถานศึกษา 48 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความคิดเห็นของครูและผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีต่อการประเมินผลการบริหารสถานศึกษา โดยใช้ Balanced Scorecard 4 มิติ มีลักษณะเป็นมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 48 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67
รายการ
การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) วีระพงศ์ หล่อสมบูรณ์
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย (1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา (2) เพื่อเปรียบเทียบการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา จำแนกตามสถานภาพของผู้ปกครองในด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ กลุ่มตัวอย่างเลือกมาโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เป็นผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา จำนวน 302 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน จากโรงเรียน 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับความเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับปัจจัยในการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งนักเรียนเข้าเรียนในโรงเรียนเอกชน ระดับประถมศึกษา มีลักษณะเป็นมาตราวัดประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 43 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับอยู่ระหว่าง 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่ม ใช้ค่า t-test และหาค่าความแตกต่างระหว่าง 3 กลุ่ม ใช้ค่า F-test
รายการ
ปัจจัยทางจิตวิทยาและสังคมที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบเชิงบวกจากการเล่นเกมออนไลน์: กรณีศึกษา Genshin Impact Thailand Official
(วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 2568-06) รัฐสภา แก่นแก้ว; วิภาพร ตัณฑสวัสดิ์; ศุภณัฐ ประยงค์
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตวิทยาและสังคม ที่มีอิทธิพลต่อผลกระทบเชิงบวกจากการเล่นเกมออนไลน์ และสร้างสมการถดถอยโลจิสติกในการทำนายการเกิดผลกระทบเชิงบวกจากการเล่นเกมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกในเฟซบุ๊ก Genshin Impact Thailand Official (Public Group) จำนวน 300 คน ใช้วิธีการเลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกทวิผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการทำนายการเกิดผลกระทบเชิงบวกจากการเล่นเกมออนไลน์ มากที่สุด คือ ความภาคภูมิใจในตนเอง (X1) สภาพแวดล้อมทางสังคม (X4) สัมพันธภาพในครอบครัว (X2) และการสนับสนุนจากเพื่อน (X3) ตามลำดับ และสมการทำนาย คือ Log (odds) = 18.329 + 2.369X1 + 1.464X4 + 1.311X3 + .451X2 โมเดลแสดงความแม่นยำในการทำนายโดยรวมที่ร้อยละ 88.70 โดยสามารถทำนายผลกระทบเชิงบวกได้ถูกต้องร้อยละ 94.50 ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้ ในระดับบุคคล ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมความภาคภูมิใจในตนเอง เช่น การวิเคราะห์บทบาทในเกมเชื่อมโยงกับชีวิตจริง การทำจิตอาสาสอนผู้สูงอายุใช้เทคโนโลยีหรือแนะนำเกมที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ในระดับสังคม ควรให้เพื่อน ครอบครัว ชุมชนและสังค เข้ามามีส่วนร่วมส่งเสริมการเล่นเกมอย่างสร้างสรรค์ เช่น กลุ่มเพื่อนและสังคมผู้เล่นเกมมีการรวมกลุ่มสตรีมเกม หรือการเล่นเกมเพื่อการกุศล ผู้ปกครองให้คำปรึกษา และสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเกมออนไลน์ที่ สร้างสรรค์ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนควรจัดกิจกรรม เช่น การแข่งขัน E-Sports การแข่งขันออกแบบเกมในธีม วัฒนธรรมไทย
รายการ
ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่ง
(วารสารสังคมพัฒนศาสตร์, 2568-06) รัฐสภา แก่นแก้ว; วิภาพร ตัณฑสวัสดิ์
การวิจัยนี้ เป็นวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของนักศึกษาชั้น ปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยรัฐบาลแห่งหนึ่ง จำนวน 211 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ่แอลฟาอยู่ระหว่าง .845 - .934 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยทางจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มี 4 ปัจจัย โดยเรียงลำดับจากปัจจัยที่ส่งผลมากที่สุดไปหาปัจจัยที่ส่งผลน้อยที่สุด ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทัศนคติที่ดีต่อหลักสูตร บทบาท ของอาจารย์ที่ปรึกษา และการสนับสนุนของครอบครัว โดยสามารถทำนายการคงอยู่ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ได้ ร้อยละ 66.7 จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า มหาวิทยาลัยควรจัดกิจกรรมหรือออกแบบหลักสูตรที่ท้าท้าย มีนโยบายการสร้างระบบการดูแลนักศึกษา หลักสูตรควรเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน มีการพัฒนาอาจารย์ที่ปรึกษาให้มีทักษะการสื่อสารเพื่อให้คำปรึกษาด้านการวางแผนการเรียนและอาชีพ มีการส่งเสริมบทบาทของผู้ปกครองผ่านกิจกรรมพลังใจจากครอบครัว เพื่อสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วมในการสนับสนุน การเรียนรู้ของนักศึกษา และพัฒนาช่องทางสื่อสารออนไลน์ระหว่างอาจารย์กับผู้ปกครอง เพื่อการดูแลนักศึกษา อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องจนสำเร็จการศึกษา
รายการ
ปัญหาการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง : ศึกษากรณีการไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อฝ่ายปกครองก่อน หรือยื่นอุทธรณ์แล้ว แต่ไม่รอผลการพิจารณาและนำคดีมาฟ้องภายในระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์
(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) เสาวนีย์ ภู่พงษ์
สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การใช้บังคับกฎหมาย (Law Enforcement) รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง (Filing With Administrative Cout) กรณีไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อฝ่ายปกครองก่อน หรือยื่นอุทธรณ์แล้ว แต่ไม่รอผลการพิจารณาและนำคดีมาฟ้องภายในระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์ ตามมาตรา 42 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งกฎหมายปกครองของไทยใช้ระบบอุทธรณ์บังคับแบบสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่ต้องอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองก่อนฟ้องคดี ทำให้เกิดปัญหาว่าขั้นตอนการอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองที่บัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัติทางปกครองต่าง ๆ จะเป็นการอุทธรณ์ในระบบบังคับหรือในระบบเผื่อเลือก