Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1335
Title: ความคิดเห็นและความเข้าใจของผู้ทำบัญชีเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
Other Titles: Opinion and Understanding of Bookkeepers on Qualifications Specification under Accounting Act, B.E.2543
Authors: ธาราวัน เพชรเจริญ
Keywords: การกำหนดคุณสมบัติผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543
Issue Date: 2551
Abstract: เนื่องจากพ.ร.บ.การบัญชี พ.ศ. 2543 ได้ประกาศใช้กว่า 5 ปีแล้ว การวิจัยนี้ต้องการศึกษาผลกระทบที่มีต่อผู้ทำบัญชีในเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความเข้าใจของผู้ทำบัญชีเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ทั้งนี้นอกจากต้องการศึกษาระดับความคิดเห็น และ ความเข้าใจของผู้ทำบัญชียังได้ศึกษาเกี่ยวกับความสามารถและศักยภาพในการปฏิบัติงานด้านวิชาชีพบัญชีเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี สามารถนำกฎหมายภาษีอากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพการบัญชีและความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชี มีผลมาจากการกำหนดคุณสมบัติผู้ทำบัญชีตาม พ.ร.บ.การบัญชี พ. ศ. 2543 ทั้งในส่วนของการกำหนดให้มีการอบรมความรู้ต่อเนื่องอย่างไร จากการศึกษาทำให้ทราบว่าผู้ทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 30 - 40 ปีมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการบัญชีหรือเทียบเท่ามีประสบการณ์ในการทำบัญชีมากกว่า 10 ปี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,000 – 50,000 บาท หน่วยงานที่สังกัดเป็นกิจการที่มีพนักงานไม่เกิน 100 คน ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจให้บริการมีความเห็นด้วยกับการกำหนดคุณสมบัติของผู้ทำบัญชีในเรื่องการกำหนดให้ผู้ทำบัญชีต้องสำเร็จการศึกษาขั้นต่ำระดับปริญญาตรีสาขาการบัญชีหรือเทียบเท่า จากการกำหนดคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ผู้ทำบัญชีให้ความคิดเห็นว่าทำให้ผู้ทำบัญชีมีความสามารถในการทำบัญชีมากขึ้นเนื่องจากมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีมากขึ้นทั้งนี้ยังมาสามารถจัดทำงบการเงินและทำการเปิดเผยข้อมูลในการจัดทำงบการเงินได้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีพร้อมทั้งปฏิบัติงานในเรื่องเกี่ยวกับภาษีอากรและยังใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานได้ในระดับสูงขึ้นสามารถประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการทำบัญชีและยังสามารถใช้โปรแกรมอื่น ๆ ทำให้การจัดทำงบการเงินสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น การศึกษาในเรื่องความคิดเห็นเกี่ยวกับการอบรมความรู้ต่อเนื่องมีความคิดเห็นในระดับปานกลางเนื่องจากการอบรมเป็นการเพิ่มความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงในเรื่องมาตรฐานการบัญชีหรือกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี แต่ในทางกลับกันถือเป็นการเพิ่มภาระของผู้ทำบัญชีในเรื่องเวลาและค่าใช้จ่ายในการอบรม พร้อมกันนี้ผู้ทำบัญชีได้เสนอแนะให้มีการอบรมผู้ประกอบการให้เห็นความสำคัญของการทำบัญชี และในเรื่องการจัดอบรมควรมีการทบทวนหลักสูตรไม่ให้แต่ละสถาบันจัดอบรมในหัวข้อซ้ำซ้อนกันและในการจัดอบรมควรมีมาตรฐานเดี่ยวกัน ควรลดการใช้จ่ายในการลงทะเบียนผู้ทำบัญชีกับสภานักบัญชี อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2543 ในประชากรในกลุ่มตัวอย่างกว้างมากขึ้นและควรศึกษาในเขตอื่นให้มากขึ้น
Description: ได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายใน ปีการศึกษา 2549
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1335
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
49 อ.ธาราวัน.pdfรายงานวิจัย2.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.