Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1366
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรัณย์ภัทร เรืองประไพ-
dc.date.accessioned2552-02-16T08:31:49Z-
dc.date.available2552-02-16T08:31:49Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1366-
dc.descriptionได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายใน ปีการศึกษา 2548en_US
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องปัจจัยจูงใจและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในการตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงปัจจัยจูงใจและ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนิสิตนักศึกษา ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันว่าจะมีการตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแตกต่างกันหรือไม่ และศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับการตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการวางแนวทางพัฒนาหลักสูตรการศึกษา ให้สอดคล้องกับมาตรการด้านทรัพยากรมนุษย์ ตามนโยบายของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยศึกษาข้อมูล ปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ในด้านข้อมูลปฐมภูมิมุ่งศึกษาถึงตัวแปรส่วนบุคคล ตัวแปรด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และตัวแปรด้านปัจจัยจูงใจ ส่วนข้อมูลทุติยภูมิ ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ กำหนดขอบเขตโดยศึกษานิสิตนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ชั้นปีสุดท้าย ของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ 3 แห่ง และสถาบันการศึกษาของเอกชน 3 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยหอการค้า ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยจูงใจในการตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของนิสิตนักศึกษา เพศชาย มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่านิสิตนักศึกษาเพศหญิง เมื่อทดสอบความแตกต่างของระดับปัจจัยจูงใจ พบว่าระดับปัจจัยจูงใจไม่แตกต่างกันทางสถิติ ในด้านเพศ ด้านผลการเรียน และด้านภูมิหลังของ ครอบครัว ในด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนิสิตนักศึกษาเพศชาย มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่านิสิตนักศึกษา เพศหญิง เมื่อทดสอบความแตกต่างระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ระหว่างเพศชายและเพศหญิง ได้ข้อสรุปว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ไม่แตกต่างกันทางสถิติในด้านเพศ และด้านผลการเรียน ส่วนด้าน ภูมิหลังของครอบครัวพบว่า ค่าเฉลี่ยของนิสิตนักศึกษากลุ่มที่ ครอบครัวประกอบธุรกิจ มีค่าเฉลี่ยสูงกว่า ครอบครัวที่ไม่ประกอบธุรกิจ เมื่อทดสอบความแตกต่างของระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ พบ ว่าระดับแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แตกต่างกันทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ด้านการตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของนิสิตนักศึกษาเพศชาย มีค่าเฉลี่ยของระดับการตัดสินใจต่ำกว่านิสิตนักศึกษาเพศหญิง เมื่อทดสอบความแตกต่างของระดับการตัดสินใจ พบว่าไม่แตกต่างกันทางสถิติ ในด้านเพศ และด้านผลการเรียน ส่วนด้านภูมิหลังของครอบครัว ระดับการตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของนิสิตนักศึกษา แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ กับการตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัย จูงใจและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีความสัมพันธ์กับ การตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในทิศทางเดียวกัน ในอัตราร้อยละ 34.0 และ 37.8 ตามลำดับen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมen_US
dc.subjectแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์en_US
dc.subjectปัจจัยจูงใจen_US
dc.titleปัจจัยจูงใจและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในการตัดสินใจประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมen_US
dc.title.alternativeTHE MOTIVATOR FACTORS AND THE ACHIEVEMENT OF THE STUDENT IN THE UNIVERSITY IN DECISION MAKING FOR SMALL AND MEDIUM ENTERPRISES TRANSACTIONen_US
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
48 ศรัณย์ภัทร.pdfรายงานวิจัย1.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.