Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1372
Title: การเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการรับรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียของประชาชนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Exposure and Perception of Thalassemia among People in North and Northeast Region
Authors: เอกณรงค์ วรสีหะ
Keywords: การเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการรับรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมีย
Issue Date: 2551
Abstract: การศึกษาเรื่อง “การเปิดรับข้อมูลข่าวสารและการรับรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียของประชาชนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1. ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพของประชาชนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. ศึกษาการรับรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียของประชาชนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ศึกษาความแตกต่างของพฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ของประชาชนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4.ศึกษาความแตกต่างการรับรู้เรื่องโรคธาลัสซีเมียระหว่างลักษณะทางประชากรศาสตร์ของประชาชนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 5. ศึกษาความต้องการ ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร/การรณรงค์เรื่องโรคธาลัสซีเมีย โดยในการศึกษาครั้งนี้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปี – 35 ปี อาศัยอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน(Multistage Sampling) คือ การสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) แบ่งพื้นที่ศึกษาออกเป็น 2 ภูมิภาค คือ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือและใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เพื่อคัดเลือกจังหวัดที่เป็นตัวแทนของภูมิภาคแต่ละภูมิภาค โดยจังหวัดที่เป็นตัวแทนทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ จังหวัดลำปาง จังหวัดแพร่ จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดมหาสารคาม จากนั้นผู้วิจัยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เพื่อคัดเลือกอำเภอ 2 อำเภอต่อ 1 จังหวัด และจะเลือกตำบล 2 ตำบลต่อ 1 อำเภอ ได้อำเภอและตำบลที่เป็นตัวแทนคือ อำเภอเถิน(ตำบลแม่ถอด และตำบลเถินบุรี) อำเภอแม่พริก (ตำบลพระบาทวังตวงและตำบลผาปัง) อำเภอเมืองแพร่(ตำบลเหมืองหม้อ และตำบลป่าแมต) อำเภอเมืองแพร่(ตำบลเหมืองหม้อและตำบลป่าแมต) อำเภอเด่นชัย (ตำบลไทรย้อยและตำบลปงป่าหวาย) อำเภอเมืองขอนแก่น (ตำบลศิลาและตำบลบ้านเป็ด) อำเภอพล(ตำบลโจดหนองแกและตำบลหนองแวงโสกพระ) อำเภอนาเชือก (ตำบลหนองแดงและตำบลปอพาน) และอำเภอยางสีสุราช (ตำบลแวงดงและตำบลหนองบัวสันตุ) ตามลำดับ จากนั้นผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยติดต่อและส่งจดหมายไปยังนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดในแต่ละจังหวัดที่ได้ทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างขึ้นมา เพื่อขอความอนุเคราะห์การเก็บรวบรวมข้อมูลประชาชนในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ และจัดส่งแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างไปให้กับสาธารณสุขจังหวัดแต่ละจังหวัดทางไปรษณีย์และขอให้หน่วยงานให้ความร่วมมือและขอความอนุเคราะห์จากสาธารณสุขจังหวัดในแต่ละจังหวัด เก็บรวบรวมข้อมูลประชาชนที่มาติดต่อกับหน่วยงานของแต่ละสาธารณสุขจังหวัดและหรือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18-35 ปีที่มีภูมิลำเนาอยู่ในอำเภอ และตำบล ตามกระบวนการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยผลการวิจัยพบว่าระดับการรับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพจากสื่อต่างๆ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.32 โดยสื่อที่มีความถี่ในการรับมากที่สุดได้แก่ สื่อโทรทัศน์ มีค่าเฉลี่ยของความถี่ในการรับอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 ส่วนสื่อที่ประชาชนมีความถี่ในการรับน้อยที่สุดคือ อินเตอร์เน็ท มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.47 อยู่ในระดับน้อยที่สุด ในขณะที่ระดับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียจากสื่อต่างๆ โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อยที่สุดมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.69 เช่นกันโดยสื่อที่มีความถี่ในการรับมากที่สุดได้แก่ สื่อวารสาร/นิตยสาร ส่วนสื่อที่ประชาชนมีความถี่ในการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียน้อยที่สุดคือ แพทย์ / พยาบาล / เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.27 อยู่ในระดับน้อยที่สุด ในขณะที่การรับรู้ต่อการเป็นโรคธาลัสซีเมีย ในส่วนการรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคธาลัสซีเมีย ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคธาลัสซีเมียของประชาชน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับไม่แน่ใจ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.23 โดยเรื่องที่ประชาชนมีการรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงมากที่สุดได้แก่ เรื่อง คนทั่วไปมีโอกาสจะเป็นพาหะหรือเป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดใดชนิดหนึ่งถึงร้อยละ 30-45 หรือ ประมาณ 24 ล้านคนของประชากรทั้งหมด มีค่าเฉลี่ยระดับ การรับรู้ อยู่ในระดับ เห็นด้วย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 แต่ในขณะที่เรื่องที่มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ต่อโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคธาลัสซีเมียต่ำที่สุดได้แก่ทุกคนมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคธาลัสซีเมียมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งมีค่าเท่ากับ 1.79 นอกเหนือไปจากนั้นการรับรู้ต่อความรุนแรงของการเป็นโรคธาลัสซีเมียมีค่าเฉลี่ย ระดับการรับรู้ต่อความรุนแรงของการเป็นโรคธาลัสซีเมียอยู่ในระดับเห็นด้วยมีค่าเท่ากับ 3.56 โดยเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยระดับการรับรู้สูงที่สุดคือ โรคธาลัสซีเมียทำให้สุขภาพไม่แข็งแรง มีอาการเจ็บป่วยโดยตลอด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84 ส่วนเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ เรื่องผู้ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียจะป่วยหรือมีอาการโรคแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ ได้ง่ายและรักษาอาการป่วยนั้น ๆ ได้ยุ่งยากกว่าคนปกติทั่วไป มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.54 อยู่ในระดับไม่แน่ใจ มากไปกว่านั้น การรับรู้ถึงอุปสรรค/ปัญหาในการปฏิบัติเพื่อปกป้องรักษาเมื่อเป็นโรคธาลัสซีเมีย มีค่าเฉลี่ย ระดับการรับรู้ถึงอุปสรรค/ปัญหาในการปฏิบัติเพื่อปกป้องรักษาเมื่อเป็นโรคธาลัสซีเมียอยู่ในระดับไม่แน่ใจมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.24 โดยการรับรู้ถึงอุปสรรค/ปัญหาในการปฏิบัติเพื่อปกป้องรักษาเมื่อเป็นโรคธาลัสซีเมียที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดได้แก่ เรื่องการเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับโรคธาลัสซีเมียมีแค่เฉพาะกลุ่มแคบๆไม่กว้างขวางทำให้ประชาชนไม่ทราบถึงข้อมูลที่แท้จริง มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับเห็นด้วย มีค่าเท่ากับ 3.83 ส่วนเรื่องที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคที่หาข้อมูลได้ยาก และมีผู้รู้เกี่ยวกับโรคนี้น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับโรคอื่นๆ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.50 อยู่ในระดับไม่เห็นด้วย ตามลำดับ
Description: ได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายใน ปีการศึกษา 2550
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1372
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
50 เอกณรงค์.pdfรายงานวิจัย3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.