Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1640
Title: ทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าว และรายการละครโทรทัศน์
Other Titles: Females’ Attitudes Towards Female Images Appearing in News Program and Drama Program on Television
Authors: เอกธิดา เสริมทอง
Keywords: ภาพลักษณ์
รายการละคร
รายการข่าว
Issue Date: 2552
Abstract: การศึกษาเรื่อง “ทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าว และ รายการละครโทรทัศน์” มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1. เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าว และรายการละครโทรทัศน์ 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทฤษฎีสตรีศึกษากับทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าว และรายการละครโทรทัศน์ 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเกณฑ์ทางปรัชญาจากสำนักคิดของกลุ่มสตรีนิยมแต่ละปรัชญากับทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าวและรายการละครโทรทัศน์ 4. เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ชมสตรีที่มีต่อการแสดงทัศนคติในการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าว และรายการละครโทรทัศน์ โดยในการศึกษาครั้งนี้ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรสตรีวัยทำงานที่มีอายุตั้งแต่ 21ปี – 60ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling)การสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดจำนวนตัวอย่าง(Quota Sampling)ในแต่ละเขตจำนวนเขตละ 40 คน จากนั้นผู้วิจัยใช้การเก็บข้อมูลแบบบังเอิญ(Accidental Sampling) ในแหล่งชุมชนจนครบจำนวน 400 ชุด โดยผลการวิจัยพบว่า 1. ทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าวโทรทัศน์เป็นภาพผู้หญิงกล้า (Non Traditional) ร้อยละ 4.24 และมีทัศนคติต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการละครโทรทัศน์เป็นภาพสัตว์โลกที่แสนสวย (Sex Object) ร้อยละ 3.63 2. ความสัมพันธ์ระหว่างแนวคิดทฤษฎีสตรีศึกษากับทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อการนำ เสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าวและรายการละครโทรทัศน์ ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดทฤษฎี สตรีศึกษากลุ่ม System Approach มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อรายการข่าวร้อยละ 25.6 และมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อรายการละครร้อยละ 14.1 และแนวคิดทฤษฎีสตรีศึกษากลุ่ม Feminist Approach มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อรายการข่าวร้อยละ 20.1 และมีความสัมพันธ์กับทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อรายการละครร้อยละ16.3 3. ความสัมพันธ์ระหว่างเกณฑ์ทางปรัชญาจากสำนักคิดของกลุ่มสตรีนิยมแต่ละปรัชญากับทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าวและรายการละครโทรทัศน์ ผลการวิจัยพบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยมีระดับความคิดเห็นเฉลี่ยต่อข้อคำถามในการวัดเกณฑ์ทางปรัชญาจากสำนักคิดของกลุ่มสตรีนิยมแบบ Essentialism ในระดับ 3.22 ความสัมพันธ์ระหว่างเกณฑ์ทางปรัชญาจากสำนักคิดของกลุ่มสตรีนิยมกลุ่ม Essentialism กับทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 43.14 และความสัมพันธ์ระหว่างเกณฑ์ทางปรัชญาจากสำนักคิดของกลุ่มสตรีนิยมกลุ่ม Essentialism กับทัศนคติของผู้ชมสตรีต่อการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการละครมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.6 4. ความแตกต่างของลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้ชมสตรีที่มีต่อการแสดงทัศนคติในการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าวและรายการละครโทรทัศน์ผลการวิจัยพบว่าลักษณะทางประชากรศาสตร์ อันได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ของผู้ชมสตรีไม่มีผลต่อการแสดงทัศนคติของสตรีในการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการข่าวโทรทัศน์ ในขณะที่ลักษณะทางประชากรศาสตร์อันได้แก่ อายุ และรายได้ของผู้ชมสตรีที่แตกต่างกันมีผลต่อการแสดงทัศนคติของสตรีในการนำเสนอภาพลักษณ์สตรีในรายการละคร
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1640
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
51 อ.เอกธิดา.pdfรายงานวิจัย2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.