กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1815
ชื่อเรื่อง: ความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวกับการยอมความตามประมวลกฎหมายอาญา : ศึกษาเฉพาะความความผิดฐานกระทำอนาจาร ตามมาตรา 278 (ที่เกิดต่อหน้าธารกำนัล) และความผิดต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 310 ทวิ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภู่เจริญศิลป์, สุภัสสร
คำสำคัญ: ความรุนแรงในครอบครัว
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ: Abstract: การศึกษาเรื่องความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครอบครัวกับการยอมความตามประมวลกฎหมายอาญา : ศึกษาเฉพาะความความผิดฐานกระทำอนาจาร ตามมาตรา 278 (ที่เกิดต่อหน้าธารกำนัล) และความผิดต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 310 ทวิ มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาความหมายของคำว่า “ความรุนแรงในครอบครัว” และ “บุคคลในครอบครัว” ว่าชัดเจน แน่นอน ปราศจากความคลุมเครือ ตามหลักแห่งประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 หรือไม่ การที่ “บุคคลในครอบครัว” หมายความรวมถึงบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกัน จะทำให้มีการขยายความคุ้มครองมากเกินสมควรหรือไม่ อีกทั้งศึกษาว่า หากมีการกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น และเป็นความผิดฐานกระทำอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 (ที่เกิดต่อหน้าธารกำนัล) หรือความผิดต่อเสรีภาพ ตามมาตรา 310 ทวิ สมควรหรือไม่ที่จะให้ความผิดเหล่านี้เป็นความผิดอันยอมความได้ เช่นเดียวกับหลักในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 มาตรา 4 วรรคสอง ที่ว่า “หากมีการกระทำความความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวเกิดขึ้น และเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ด้วย ให้ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ให้เป็นความผิดอันยอมความได้” จากการศึกษาวิจัย ผู้วิจัยเห็นว่า ความหมายของคำว่า “ความรุนแรงในครอบครัว” และ “บุคคลในครอบครัว” ที่พระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติไว้นั้น มิใช่เป็นกรณีที่บัญญัติไว้ไม่ชัดเจน ไม่แน่นอน หรือคลุมเครือ แต่เป็นการบัญญัติไว้ในลักษณะกว้าง ๆ ซึ่งจะต้องอาศัยการตีความตามหลักการตีความแห่งกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเห็นว่า คำนิยามของคำว่า “บุคคลในครอบครัว” ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้น กว้างเกินไป ดังนั้น ผู้วิจัยจึงขอเสนอแนะดังนี้ 1. ควรแก้ไขเพิ่มเติมความหมายของคำว่า “บุคคลในครอบครัว” เป็นดังนี้ “บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า คู่สมรส คู่สมรสเดิม ผู้ที่อยู่กินหรือเคยอยู่กันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส บุตร บุตรบุญธรรม สมาชิกในครอบครัว รวมทั้งบุคคลใด ๆ ที่ต้องพึ่งพาอาศัยและอยู่ในครัวเรือนเดียวกันในลักษณะทำนองเครือญาติหรือสมาชิกในครอบครัวเช่นว่านั้น 2. ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 โดยให้เพิ่มความผิดฐานกระทำอนาจาร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 (ที่เกิดขึ้นต่อหน้าธารกำนัล) และความผิดต่อเสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ทวิ ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ เช่นเดียวกับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1815
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:งานวิจัยสาขาวิชากระบวนการยุติธรรม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
51 อ.สุภัสสร.pdf2.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น