Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2101
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยากร หวังมหาพร-
dc.date.accessioned2554-04-08T03:20:56Z-
dc.date.available2554-04-08T03:20:56Z-
dc.date.issued2554-03-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2101-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่องการวิเคราะห์ตำรานโยบายสาธารณะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ตำรานโยบายสาธารณะในด้านคุณลักษณะทั่วไป ความน่าอ่านและความยากในการอ่าน 2) ศึกษาสภาพและลักษณะการใช้ตำรานโยบายสาธารณะของอาจารย์ นิสิต/นักศึกษาในปัจจุบันและ 3) ศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ นิสิต/นักศึกษาเกี่ยวกับตำรานโยบายสาธารณะในปัจจุบัน วิธีดำเนินการวิจัยของงานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์ตำรา (textbook analysis) และการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ตำรานโยบายสาธารณะไทยจำนวน 8 เล่ม อาจารย์ และนิสิต/นักศึกษาจาก 6 สถาบัน ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยศรีปทุม และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์จำนวน 17 รายและ 805 รายตามลำดับ ขั้นตอนการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ตำรานโยบายสาธารณะในด้านคุณลักษณะทั่วไป ความน่าอ่านและความยากในการอ่าน ขั้นตอนที่ 2 การสำรวจสภาพและลักษณะการใช้ตำรานโยบายสาธารณะของอาจารย์ นิสิต/นักศึกษาในปัจจุบัน และความคิดเห็นของอาจารย์ นิสิต/นักศึกษาเกี่ยวกับตำรานโยบายสาธารณะในปัจจุบัน ผลวิเคราะห์ตำรานโยบายสาธารณะในด้านคุณลักษณะ ความน่าอ่าน และความยาก ในการอ่าน พบว่า ลักษณะของตำรานโยบายสาธารณะส่วนใหญ่ใช้วิธีการเย็บเล่มโดยการ ไสสันกาว ใช้กระดาษปอนด์ในการจัดพิมพ์และใช้ขนาดอักษร 16 พอยท์ ลักษณะภายในของตำราทุกเล่มมีปกใน คำนำ สารบัญ บทนำเข้าสู่เนื้อหา การอ้างอิงภายในเนื้อหา ภาพ/แผนภาพประกอบเนื้อหา หัวข้ออภิปราย/แสดงความคิดเห็น บรรณานุกรม/รายการอ้างอิง ตำราส่วนใหญ่มีสารบัญภาพ เค้าโครงเนื้อหาประจำบท ตารางประกอบเนื้อหา คุณลักษณะที่ไม่มีในตำราทั้ง 8 เล่ม ได้แก่ คำแนะนำการใช้หนังสือและอภิธานศัพท์ ความน่าอ่านของตำรานโยบายสาธารณะในภาพรวมดัชนีความน่าอ่านมีค่าเท่ากับ 24.52 แสดงว่าภาพรวมของตำรามีความเหมาะสมสำหรับระดับบัณฑิตศึกษาขึ้นไป ความยากของตำรานโยบายสาธารณะไทย พบว่า ภาพรวมตำราทั้ง 8 เล่มมีดัชนีความยากในการอ่านในระดับน้อย อยู่ในช่วง 9-13.10 ซึ่งหมายความว่าตำราทั้ง 8 เล่มนั้นอ่านไม่ยาก สภาพและลักษณะการใช้ตำรานโยบายสาธารณะไทยในปัจจุบัน พบว่าระดับการปฏิบัติในการใช้ตำรานโยบายสาธารณะในภาพรวมของอาจารย์มีระดับการปฏิบัติในระดับปานกลาง ส่วนระดับความสำเร็จในการใช้ตำรานโยบายสาธารณะในภาพรวมของอาจารย์มีความสำเร็จในระดับปานกลางแต่น้อยกว่าในระดับการปฏิบัติ ระดับการปฏิบัติในการใช้ตำรานโยบายสาธารณะในภาพรวมของนิสิต/นักศึกษาพบว่ามีระดับการปฏิบัติในระดับปานกลาง ส่วนระดับความสำเร็จในการใช้ตำรานโยบายสาธารณะในภาพรวมของนิสิต/นักศึกษามีความสำเร็จในระดับปานกลางแต่น้อยกว่าในระดับการปฏิบัติ ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับตำรานโยบายสาธารณะของอาจารย์และนิสิต/นักศึกษา พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด สำหรับข้อเสนอแนะในการเขียน/ผลิตตำรานโยบายสาธารณะนั้น ควรคำนึงถึงความสำคัญของคำแนะนำการใช้หนังสือ อภิธานศัพท์ กิจกรรม/คำถามท้ายบท สื่อประกอบตำรา ผู้สอนสามารถเลือกตำราที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน เช่น ระดับปริญญาบัณฑิต/บัณฑิตศึกษาตามโดยอาศัยดัชนีความน่าอ่านและดัชนีความยาก เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectการวิเคราะห์ตำรา นโยบายสาธารณะen_US
dc.titleการวิเคราะห์ตำรานโยบายสาธารณะen_US
dc.title.alternativeThe Analysis on Public Policy Textbooksen_US
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53 ดร.ปิยาการ2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.