กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2883
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การนำสารธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวันและผลที่ได้รับจากการรับสารธรรมะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Behavior of Media Openness and Ethic Use in Routine Life of High School Students in Bangkok.
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อิสราภรณ์ ลาดละคร
คำสำคัญ: การเปิดรับสื่อสารธรรมะ
สารธรรมะ
วันที่เผยแพร่: กรกฎาคม-2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง “พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ การนำสารธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวันและผลที่ได้รับจากการรับสารธรรมะของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตกรุงเทพมหานคร ” ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาชนิดของสื่อที่ใช้เผยแผ่ธรรมะที่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเปิดรับ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและเปิดรับสาร เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางประชากรกับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและการนำความรู้ด้านธรรมะไปปฎิบัติภายหลังได้รับการถ่ายทอด และเพื่อศึกษาผลที่ได้จากการนำสารธรรมะไปใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครสังกัด สพฐ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) โรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชน และโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,200 คน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ไคสแควร์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และคลาดเคลื่อนได้ไม่เกินร้อยละ 5 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลงานวิจัยพบว่าสถานภาพปัจจุบันของผู้ตอบแบบสอบถาม คือ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยมีอายุ 17 ปี มีระดับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 34.6 และสาขาที่เรียน คือ วิทย์ – คณิต ด้านสถานภาพของบิดามารดาคือ อยู่ด้วยกัน ด้านรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัว 10,001- 20,000 บาท ด้านพฤติกรรมการเปิดรับสื่อธรรมะจะมีความถี่ในการเปิดรับสื่อสารธรรมะ นานๆ ครั้ง ได้แก่ ทางโทรทัศน์ ทางวิทยุ ทางหนังสือพิมพ์ ทางนิตยสาร ทางวารสาร แผ่นพับ ทางบุคคล เช่น พระภิกษุ บิดา/มารดา ญาติ/พี่น้อง เพื่อน ทางอินเตอร์เน็ต คือ นาน ๆ ครั้ง และมีระยะเวลาในการเปิดรับสื่อสารธรรมะ คือ น้อยกว่า 10 นาที/ครั้ง ได้แก่ทางโทรทัศน์ ทางวิทยุ ทางหนังสือพิมพ์ ทางนิตยสาร ทางวารสารแผ่นพับ ทางอินเตอร์เน็ต ส่วนช่วงเวลาในการเปิดรับสื่อสารธรรมะจะแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล โดยด้านความรู้ในสารธรรมะนั้นจะมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธรรมะ อริยสัจสี่ อริยมรรค 8 ประการ ข้อบัญญัติในศีล 5 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ในส่วนของการนำความรู้จากสารธรรมะไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน คือ หลักของความสะอาด ซึ่งอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การอาบน้ำทุกเช้า และเย็น ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด การทดสอบสมมุติฐานพบว่า คุณลัษณะทางประชากรที่แตกต่างจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแตกต่างกัน ชนิดของสื่อในการเผยแผ่ธรรมะที่แตกต่างกันจะมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแตกต่างกัน และวิธีการถ่ายทอดสารธรรมะแตกต่างกันจะมีความสัมพันธ์กับการนำความรู้ด้านธรรมะไปปฎิบัติภายหลังได้รับการถ่ายทอดไม่แตกต่างกัน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2883
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
52 อ.อิสราภรณ์.pdf1.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น