Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3317
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร จากการการค้าทองคำ
Authors: ทวีศักดิ์ ผลทิพย์
Keywords: การจัดเก็บภาษี
การค้าทองคำ
Issue Date: 8-March-2555
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร ในการประกอบธุรกิจการค้าทองคา ซึ่งมีปัญหาการจัดเก็บภาษีที่รัฐไม่อาจเก็บภาษีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากทองคานั้นมีรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เช่น ทองคารูปพรรณ อัญมณี แหวนเพชร พลอย กรอบพระ จี้ ต่างหู หรือทองคาแท่ง โดยเฉพาะทองคารูปพรรณนั้นยังได้แยกออกเป็นหลายชนิดขึ้นอยู่ตามความบริสุทธิ์ของเนื้อทอง เรื่องนี้ก่อให้เกิดปัญหาการจาแนกแต่ละประเภททองคาว่าจะจัดเก็บภาษีในรูปแบบใด ซึ่งตามประกาศกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มของทองรูปพรรณจะต้องเสียภาษีในอัตราที่รัฐกาหนด โดยให้นาราคาที่สมาคมผู้ค้าทองคาประกาศในแต่ละวันเป็นเกณฑ์กลาง โดยอ้างอิงราคาทองคาจากต่างประเทศ เท่ากับว่าราคาทองรูปพรรณนั้นเป็นไปตามสมาคมประกาศนั่นเอง ทาให้อัตราราคาทองคาในแต่ละวันจึงไม่เท่ากันบางครั้งอาจมีการขึ้นลงวันละหลายครั้ง ก่อให้เกิดปัญหาความไม่แน่นอนของราคาและปัญหาการจัดเก็บภาษี ดังนั้นจากสภาพปัญหาดังกล่าวทาให้รัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี เพราะไม่อาจจะประเมินมูลค่าต้นทุนการขายที่แน่นอนได้ประกอบกับในการค้าทองคานั้นเนื่องจากตัวทองคาเองสามารถจาแนกหรือเปลี่ยนรูปร่างโดยการหลอมใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นทองคาเก่าแล้วนามาหลอมให้เป็นทองคาแท่งหรือทองรูปพรรณ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทาด้วยทองคาชนิดอื่น กรณีดังกล่าวผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะว่า รัฐควรบัญญัติกฎหมายหรือออกข้อบังคับให้มีการหาเครื่องมือในการตรวจสอบทั้งการนาเข้าและการขายออก รวมทั้งการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เช่น การจัดให้มีคณะกรรมการกลางที่มีอานาจในการตรวจ หรือการจัดให้มีเครื่องไม้เครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อจัดเก็บข้อมูลให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาทองคาในแต่ละวัน นอกจากนั้นในการ II ประกอบธุรกิจการค้าทองคาไม่ได้มีรายได้จากการขายตัวทองคารูปพรรณหรือทองคาแท่งเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีรายได้อย่างอื่นเช่น กรณีจากการรับจานาที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงรับจานา พ.ศ. 2505 หรือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการจานาหรือขายฝาก การค้าของเก่าซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติการควบคุมการค้าของเก่า พ.ศ.2474 เป็นต้น กรณีดังกล่าวจึงต้องมีกฎหมายควบคุมการจัดเก็บรายที่เกิดขึ้นนอกเหนือจาการขายตัวทองรูปพรรณ ดังนั้นจึงควรมีกฎหมายกลางและหน่วยงานกลางของรัฐ ในการตรวจสอบและควบคุมการจัดเก็บภาษีเพื่อให้การจัดเก็บภาษีของรัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริโภคในสังคมส่วนรวม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3317
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf91.07 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf134.73 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf51.2 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf131.37 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf134.94 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf342.17 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf874.46 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf195.43 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf105.3 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf147.17 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf50.92 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.