กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3416
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายและจริยธรรมในการรักษาโรคร้ายแรงของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์:ศึกษากรณีการุณยฆาต
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ผดุงพล อรรถกิจไพบูลย์
คำสำคัญ: การุณยฆาต
ผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์
การรักษาโรคร้าย
จริยธรรม
วันที่เผยแพร่: 15-มีนาคม-2555
บทคัดย่อ: การที่กฎหมายสุขภาพแห่งชาติได้บัญญัติให้บุคคลผู้เข้ารับบริการสาธารณสุขที่รัฐจัดหาให้ก็ตามก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับภาระในการนำสืบพิสูจน์ความรับผิดของแพทย์ที่ต้องตกอยู่เป็นผู้เสียหาย ทั้งในทางอาญาและทางแพ่งอันเป็นปัญหาและอุปสรรคของผู้ป่วยที่ไม่มีความรู้ทางด้านการแพทย์ที่จะนำสืบให้ศาลเห็นถึงการกระทำผิดของแพทย์ผู้ทำการรักษา แม้กฎหมายจะกำหนดคุ้มครองไว้ชัดเจนว่าเป็นสิทธิของผู้ป่วย เช่น สิทธิที่จะได้รับการรักษาเป็นความลับ ตามมาตรา 323 แห่งประมวลกฎหมายอาญา สิทธิที่จะได้รับการชดเชยความเสียหายในทางแพ่งก็ตาม แต่สิทธิในการที่จะได้รับการบอกกล่าว สิทธิที่จะตัดสินใจโดยอิสระด้วยตนเอง หรือแม้กระทั่งสิทธิที่จะปฏิเสธการรักษาทางการแพทย์ทั้งกรณีทั่วไปและกรณีเฉพาะที่เกี่ยวกับการปฏิเสธการรักษาทางการแพทย์ที่จำเป็นและเป็นประโยชน์แก่ชีวิตร่างกายอันนำไปสู่เรื่องสิทธิในการตายโดยการุณยฆาต (Euthanasia) ของผู้ป่วยโรคร้ายแรงที่จะคุ้มครอง ซึ่งกฎหมายไทยยังไม่มีบัญญัติไว้ให้ชัดเจนถึงชนิดของโรคร้ายแรงอันนำไปสู่สิทธิการตายโดยการุยฑาต ดังนั้น การตีความกฎหมายที่มีอยู่ให้สามารถบังคับได้ในเรื่องสิทธิของผู้ป่วยโรคร้ายแรงที่จะใช้สิทธิการุณยฆาต ควรบัญญัติกฎหมายให้เป็นเอกภาพให้ชัดเจนมิใช่บัญญัติเพียงสิทธิของผู้ป่วยที่จะสามารถตัดสินใจในการที่จะตายได้โดยสงบ ส่วนการแก้ไขกฎหมายและการบัญญัติกฎหมายเฉพาะให้มีความชัดเจนโดยควรนำระบบกฎหมายจารีตประเพณี (Common law) ที่มีหลักในการเคารพสิทธิส่วนบุคคล และในระบบประมวลกฎหมาย (Civil law) ของประเทศฝรั่งเศสที่อาศัยหลักการเคารพต่อชีวิตและร่างกายมนุษย์ รวมทั้งเคารพในเจตน์จำนงของผู้ป่วยในทุกเรื่องและหลักความเป็นอิสระในการเลือกแพทย์โดยบัญญัติหลักการดังกล่าวไว้อย่างชัดแจ้งในประมวลจริยธรรมทางการแพทย์ ซึ่งมีผลในทางบังคับให้เป็นสิทธิของผู้ป่วย และควรบัญญัติหลักการต่าง ๆ ที่จะเอื้อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิของผู้ป่วยได้อย่างชัดเจนในกฎหมายว่าด้วยจริยธรรมทางการแพทย์และควรจะให้มีมาตรการปกป้องสิทธิของผู้ป่วยในทางศาลร่วมด้วย ส่วนในระบบการรักษาของแพทย์นั้น ควรให้มีบทนิยามศัพท์เกี่ยวกับคำว่า “โรคร้ายแรง” ไว้เป็นการเฉพาะเพื่อให้เกิดความสอดคล้องไม่ว่าจะเพิ่มเติมไว้ในบทนิยามศัพท์ตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2525 และพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3416
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
1title.pdf96.25 kBAdobe PDFดู/เปิด
2abstract.pdf86.05 kBAdobe PDFดู/เปิด
3acknow.pdf53.99 kBAdobe PDFดู/เปิด
4content.pdf97.99 kBAdobe PDFดู/เปิด
5chap1.pdf234.22 kBAdobe PDFดู/เปิด
6chap2.pdf400.81 kBAdobe PDFดู/เปิด
7chap3.pdf573.06 kBAdobe PDFดู/เปิด
8chap4.pdf249.85 kBAdobe PDFดู/เปิด
9chap5.pdf172.19 kBAdobe PDFดู/เปิด
10bib.pdf200.66 kBAdobe PDFดู/เปิด
11profile.pdf63.4 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น