กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3568
ชื่อเรื่อง: ปัญหาความรับผิดของรับของผู้จำนอง : ศึกษากรณีข้อตกลงยกเว้นบทบัญญัติจำกัดสิทธิ์ของผู้รับจำนองในการบังคับจำนองเฉพาะจากทรัพย์สินที่จำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: PROBLEMS CONCERNINING LIABILITY OF THE MORTGAGEE : A STUDY OF CONTRACT TERMS EXCLUDING THE PROVISIONS ENTITLING THE MORTGAGEE TO ENFORCE DEBTS ONLY OUT OF THE MORTGAGED PROPERTY
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุญส่ง บัวชื่น
คำสำคัญ: บทบัญญัติจำกัดสิทธิ์
วันที่เผยแพร่: 2555
แหล่งอ้างอิง: บุญส่ง บัวชื่น. 2553. "ปัญหาความรับผิดของรับของผู้จำนอง : ศึกษากรณีข้อตกลงยกเว้นบทบัญญัติจำกัดสิทธิ์ของผู้รับจำนองในการบังคับจำนองเฉพาะจากทรัพย์สินที่จำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาปัญหาความรับผิดของผู้จำนองที่ตกลงยกเว้นบทบัญญัติจำกัดสิทธิ์ของผู้รับจำนองในการบังคับจำนองจากทรัพย์สินที่จำนอง ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 กำหนดให้ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ยังขาดจำนวนจากเอาทรัพย์จำนองหลุดและราคาประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ หรือออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระ แต่สถาบันการเงินกลับกำหนดไว้ในสัญญาจำนองที่สถาบันการเงินจัดทำขึ้นฝ่ายเดียวเป็นสัญญาสำเร็จรูป ด้วยการกำหนดไว้ในสัญญาจำนองให้ยกเว้นบทบัญญัติจำกัดสิทธิ์ของผู้รับจำนองในการบังคับจำนองว่า หากบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ผู้จำนองยังต้องรับผิดชดใช้หนี้จนครบถ้วน แต่เดิมนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2468 บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 12 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2468 บัญญัติให้ลูกหนี้จำนองต้องรับผิดชดใช้หนี้จนครบถ้วนหากการบังคับจำนองได้เงินมาไม่พอชำระหนี้ ตามมาตรา 733 ปัจจุบันประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ได้มีการแก้โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2478 โดยบัญญัติให้ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ขาดจำนวนจากการบังคับจำนองแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลฎีกาได้วางหลักไว้ในคำพิพากษาฎีกาที่ 1313/2480 ว่า ข้อตกลงที่ ผู้จำนองทำสัญญายกเว้นข้อจำกัดสิทธิ์ของผู้รับจำนอง ที่กำหนดให้ผู้รับจำนองต้องรับผิดชดใช้หนี้ จนครบถ้วนหากบังคับจำนองแล้วไม่พอชำระหนี้นั้นไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ทำให้ศาลฎีกายึดถือเป็นหลักในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับข้อกำหนดยกเว้นข้อจำกัดสิทธิ์ของผู้รับจำนองว่าไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเรื่อยมา เมื่อมีการบัญญัติกฎหมายว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 ขึ้นมาใช้บังคับ โดยกำหนดลักษณะของข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมว่า ต้องพิจารณาลักษณะของข้อสัญญาว่าจะมีผลบังคับเพียงใดจึงจะเป็นธรรมและพอสมควรนั้น ให้พิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงรวมถึงอำนาจต่อรอง ฐานะทางเศรษฐกิจ ทางเลือกอื่นและทางได้เสียทุกอย่างของคู่สัญญาตามสภาพที่เป็นจริง หรืออื่นๆ ตามมาตรา 10 และมาตรา 3 กำหนดความหมายของสัญญาสำเร็จรูปว่าเป็นสัญญาที่ทำเป็นลักษณ์อักษรโดยมีการกำหนดข้อสัญญาที่เป็นสาระสำคัญไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะทำในรูปใด ซึ่งคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดนำมาใช้ในการประกอบกิจการของตน ดังนั้น สัญญาจำนองที่สถาบันการเงินจัดทำขึ้นฝ่ายเดียว จึงเป็นสัญญาสำเร็จรูปตามพระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และที่สถาบันการเงินกำหนดไว้ในสัญญาให้ยกเว้นข้อจำกัดสิทธิ์ของผู้รับจำนอง จึงเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3568
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทคัดย่อ [1] จำนอง.pdf44.74 kBAdobe PDFดู/เปิด
หน้าปก[1] จำนอง.pdf29.2 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบ