กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4236
ชื่อเรื่อง: วิธีอย่างง่ายวิธีใหม่ในการวัดค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน สำหรับลวดอัดแรงดึงทีหลัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A New Simple Method for Post-tension Strands Friction Coefficient Measurement
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตร สุจินดา
คำสำคัญ: สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน
ลวดอัดแรงแบบตีเกลียว
วิธีการวัดค่า
Friction coefficient
Prestressing strands
Measurement method
วันที่เผยแพร่: 9-พฤษภาคม-2013
สำนักพิมพ์: NCCE
แหล่งอ้างอิง: NCE18
หมายเลขชุด/รายงาน: STR-096
NCCE18
บทคัดย่อ: บทความนี้กล่าวถึงวิธีการวัดค่าสัมประสิทธิ์แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นระหว่างลวดอัดแรงชนิดตีเกลียวและท่อร้อยลวด ทั้งแบบที่เกิดจากความคดและความโค้ง โดยการเก็บค่าแรงดึงของลวดที่ปลายที่ดึงลวด และระยะยืดของลวดแต่ละเส้น เพื่อนำมาใช้หาค่าแรงดึงเฉลี่ยตลอดความยาวเส้นลวดจากสมการความสัมพันธ์ของระหว่างหน่วยแรงและหน่วยการยืดตัวของเส้นลวดแบบเชิงเส้นไม่ตรง และคำนวณความยาวและความโค้งรวมของลวดแต่ละเส้นจากแบบก่อสร้าง เพื่อให้เหมือนกับการคำนวณในขั้นตอนออกแบบ และได้ค่าสัมประสิทธิ์ที่มีการปรับแก้ความเพี้ยนของตำแหน่งการวางลวดเมื่อเทียบกับแบบก่อสร้างไว้แล้ว จากการทดลองวัดและคำนวณค่าดังกล่าวของเส้นลวดอัดแรงที่ใช้ท่อร้อยลวดสำหรับอัดฉีดน้ำปูนเพื่อให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวชนิดที่ม้วนตีเกลียวมาจากแผ่นเหล็กชุบสังกะสีจำนวน 470 เส้น จากสถานที่ก่อสร้างจริง พบว่าได้สัมประสิทธิ์ความคดมีค่าเท่ากับ 0.0035 ต่อฟุต (1.758 ต่อเมตร) และได้ค่าสัมประสิทธิ์ความโค้งมีค่าเท่ากับ 0.536 ต่อเรเดียน ซึ่งค่าทั้งสองมากกว่าที่แนะนำไว้ในมาตรฐาน ACI318-11 อย่างมีนัยสำคัญ This article describes the new method of measuring the friction coefficient between prestressing strands and their conduits which are related to both wobble and curvature. The method requires both measured jacking force and elongation of each strand so the average tension along the entire length can be determined from non-linear stress-strain relationship. The total length and total curvature of each strand were calculated from shop drawing to simulate the friction calculation in the design process. The determined friction coefficients will include the effect due to misplace of the conduit layouts. From the experimental measurement of 470 bonded system strands with spiral galvanized metal sheet conduits from the actual construction site, the wobble coefficient is 0.0035 per foot (1.758 per meter) and the curvature coefficient is 0.536 per radian. Both coefficients are significantly higher than those recommended by ACI318-11 standard.
รายละเอียด: Conference Paper
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4236
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
NCCE 18 Full Paper Chatr Suchinda v2.1 (Final version).pdfFull Paper423.63 kBAdobe PDFดู/เปิด
STR096_Chatr Suchinda.pptxPowerpoint Presentation383.75 kBMicrosoft Powerpointดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น