กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4255
ชื่อเรื่อง: แรงจูงใจของทายาทผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวผู้รับเหมาก่อสร้าง จังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: THE MOTIVATION OF HEIRS WHO INHERIT THE FAMILY BUSINESS CONTRACTOR IN SURIN
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปรวิทย์ ภิรมย์
คำสำคัญ: แรงจูงใจ
ผู้รับเหมาก่อสร้าง
วันที่เผยแพร่: 30-พฤษภาคม-2556
แหล่งอ้างอิง: ปรวิทย์ ภิรมย์. 2556. “แรงจูงใจของทายาทผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวผู้รับเหมาก่อสร้าง จังหวัดสุรินทร์.” การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: การศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจของทายาทผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดเล็กในจังห วัดสุรินทร์ โดยนําเอาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ทายาทผู้ประกอบกิจการ เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งผลที่ได้จะเป็นประโยชน์แก่ทายาทต่อการตัดสินใจสืบทอดกิจการ รวมถึงประโยชน์แก่ผู้ก่อตั้งที่จะเป็นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจให้กับทายาทมีความสนใจในกิจการของตน วิธีการศึกษาจะเป็นการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจของ Herzberg และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ( Dept Interview) เพื่อหาปัจจัยที่ทําให้เกิดแรงจูงใจในการสืบทอดกิจการ จากผู้เป็นทายาทของผู้ประกอบการครอบครัวผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดเล็กในจังหวัดสุรินทร์โดยตรงจํานวน 10 บริษัทรวมถึงการสัมภาษณ์กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จํากัด ( มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาญอิสสระ ดิเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเพิ่มเติม ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทําให้เกิดแรงจูงใจในการสืบทอดกิจการ จากผู้เป็นทายาทของผู้ประกอบการมีผลสนับสนุนต่อทฤษฎีแรงจูงใจของ Herzberg โดยมีทายาทที่มีแรงจูงใจจากปัจจัยจูงใจ(Motivation Factor) จํานวน 1 คน และมีแรงจูงใจจากปัจจัยค้ําจุน (Maintenance Factor) จํานวน 9 คน โดยทั้ง 9 คนมีแรงจูงใจจากภายนอกที่เหมือนและแตกต่าง อาจด้วยสาเหตุจากปัจจัยส่วนบุคคลเช่น เพศ อายุ ความสัมพันธ์ และการศึกษาที่อาจนําไปสู่การศึกษาในโอกาสครั้งต่อไปได้ ส่วนผลจากการสัมภาษณ์กรรมการผู้จัดการทั้ง 2 ได้ผลที่ตรงกันคือมีปัจจัยจูงใจ(Motivation Factor) เป็นแรงจูงใจในการสืบทอดกิจการ รวมทั้งได้ให้แนวทางในการปลูกฝังทายาทด้วยการให้การศึกษาและการเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อง่ายต่อการสืบท อดกิจการ ผลการศึกษานี้สามารถนําไปปรับปรุงใช้กับธุรกิจอื่นๆ หรือหน่วยงานของรัฐอาจนําไปเป็นกรณีศึกษาเพื่อแผนการพัฒนาธุรกิจครอบครัวที่ยั่งยืน เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4255
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ARC-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)



รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น